ปัจจัยทางวิศวกรรมที่มีผลต่อการแบ่งประเภทการทำงานของเครนไฟฟ้าเหนือศรีษะตามมาตรฐานสหพันธ์ขนถ่ายวัสดุแห่งสหภาพยุโรป

Main Article Content

Sumate Sathibunanan
Wirote Ritthong

บทคัดย่อ

เครนไฟฟ้าเหนือศีรษะเป็นอุปกรณ์ขนถ่ายวัสดุที่มีบทบาทอย่างมากในงานอุตสาหกรรมใช้เคลื่อนย้ายวัตถุสิ่งของที่มีน้ำหนักในเวลาที่แตกต่างกันทั้งระยะเวลาในการทำงานภายในหนึ่งวันและช่วงเวลาของการเคลื่อนย้ายวัตถุสิ่งของอย่างต่อเนื่องในแต่ละครั้งของการทำงาน ด้วยการทำงานในเวลาที่มีความหลากหลายบนพื้นฐานของความต้องการที่แตกต่างกันไปในแต่ละกลุ่มอุตสาหกรรม ดังนั้นแล้วจึงมีการแบ่งเครนไฟฟ้าเหนือศีรษะออกเป็นกลุ่มศักยภาพการทำงาน การแบ่งกลุ่มจะเน้นไปที่ศักยภาพการทำงานของรอกไฟฟ้าเป็นสำคัญเพราะเป็นอุปกรณ์หลักที่ใช้ในการยกวัตถุสิ่งของ โดยทั่วไปมาตรฐานสากลที่เป็นที่ยอมรับกันทั่วโลกในการแบ่งศักยภาพการใช้งานของงานรอกไฟฟ้านั้น มาตรฐานของสมาคมขนถ่ายวัสดุแห่งสหภาพยุโรป หรือที่เรารู้จักกันในนามของ FEM (European Federation of Materials Handling) เป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวางโดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศอุตสาหกรรมในกลุ่มสหภาพยุโรป มาตรฐานนี้ในเบื้องต้นแบ่งรอกออกเป็น 4 กลุ่มประเภทดังนี้ คือ รอกประเภทที่ใช้งานเบา รอกประเภทที่ใช้งานปานกลาง รอกประเภทที่ใช้งานหนัก และรอกประเภทที่ใช้งานหนักมาก ตามลำดับ การแบ่งประเภทของรอกจะแบ่งตามความถี่บ่อยของการใช้งานในช่วงเวลาการทำงานและความหนักเบาของภาระที่ยกซึ่งประเมินได้จากสัดส่วนของน้ำหนักที่ยกจริงต่อน้ำหนักของรอกที่สามารถยกได้ในช่วงเวลาการทำงานของแต่ละกลุ่มอุตสาหกรรมที่แตกต่างกันไป

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

[1] Q. Xiaogang, X. Gening, F. Xiaoning, and B. Xiaoheng, “Intelligent optimization methods for the design of an overhead travelling crane,” Chinese Journal of Mechanical Engineering, vol. 28, pp. 187–196, September 2015.

[2] Gary J. Davis, Guidelines for Inspecting Overhead Crane Structures, Texas Registered Engineering Firm, Texas, 2011, pp. 17–42.

[3] Electric Overhead Traveling (EOT) Cranes and Hoists., PDH Center., New York, 2012, pp. 2–6.

[4] European Federation of Materials Handling. (1997, July). Rules for the Design of Storage and Retrieval Machines Mechanisms [Online]. Available: http://vdmashop.de/refs/FEM9.512%20Engl.pdf (in Thai).

[5] J. D. NUEHAUS. (2015, November). Instructions “Actual operating time”. J.D. NEUHAUS GmbH & Co. KG. Witten, Germany. [Online]. Available: http://www.jdngroup.com/no_cache/en/service/assistance-tips/operating-time-calculator.html

[6] Konecranes (2014, June). Konecranes announces TRUCONNECT Remote Monitoring and Reporting service to enhance safety optimize maintenance [Online]. Available: http://www.automation.com/library/resources/konecranesannounces-truconnect-crane-monitoring-service

[7] A. Bhatia.(2015, December). Electric Overhead Traveling (EOT) Cranes and Hoists. Fairfax, USA. [Online]. Available: http://www.pdhcenter.com/

[8] YUANTAI CRANE. (2015, December). Overhead Crane. Zhengzhou, China. [Online]. Available: http://www.ytcrane.com/products/

[9] FEM- European Materials Handling Federation. (2015, December). Consultation on Smart Regulation in The EU FEM Contribution. European Materials Handling Federation. Brussels, Belgium. [Online]. Available: http://ec.europa.eu/smart-regulation/consultation_2012/docs/registered_organisations/fem_en.pdf (in Thai).