รูปแบบการพัฒนาขีดความสามารถในการปฏิบัติงานของเลขานุการผู้บริหารในสถานประกอบการ

Main Article Content

Piyachut Jantiva
Suchart Siengchin
Teravuti Boonyasopon
Vichien Ketusingha

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และองค์ประกอบของขีดความสามารถในการปฏิบัติงานของเลขานุการผู้บริหาร เพื่อพัฒนารูปแบบการพัฒนาขีดความสามารถในการปฏิบัติงานของเลขานุการผู้บริหาร และเพื่อจัดทำคู่มือการพัฒนาขีดความสามารถในการปฏิบัติงานของเลขานุการผู้บริหาร ผู้ให้ข้อมูลในการวิจัยคือ ผู้บริหารและเลขานุการผู้บริหารในสถานประกอบการภาคอุตสาหกรรมการผลิตและบริการ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วยแบบสัมภาษณ์เชิงลึก และแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า องค์ประกอบของขีดความสามารถในการปฏิบัติงานของเลขานุการผู้บริหาร ประกอบด้วย 1) ด้านเจตคติ 2) ด้านบุคลิกลักษณะ 3) ด้านทักษะในการปฏิบัติงาน และ 4) ด้านความรู้ ผลการพัฒนารูปแบบการพัฒนาขีดความสามารถในการปฏิบัติงานของเลขานุการผู้บริหาร พบว่ารูปแบบการพัฒนาขีดความสามารถที่พัฒนาขึ้น ซึ่งประกอบด้วยองค์ประกอบขีดความสามารถ 4 ด้านนั้น มีจำนวน 23 รายการขีดความสามารถ ดังนี้ 1) การเก็บรักษาความลับ 2) มีใจรักงานบริการ 3) มีทัศันคติที่ดี 4) รักงานเลขานุการ 5) มีจรรยาบรรณในวิชาชีพ 6) มีความซื่อสัตย์ 7) มีความรับผิดชอบสูง 8) มีบุคลิกภาพดี 9) มีมนุษยสัมพันธ์ดี 10) มีวินัยในการทำงาน 11) มีปฏิภาณไหวพริบดี 12) การบริหารเวลาให้กับผู้บริหารตามลำดับความสำคัญ 13) การวางแผนการทำงานให้เสร็จตามกำหนดเวลา 14) การวางแผนและเตรียมข้อมูลให้ผู้บริหาร 15) การเรียนรู้และปรับตัวให้เข้ากับรูปแบบการทำงานของผู้บริหาร 16) การทำงานหลายอย่างในเวลาเดียวกัน 17) การใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ 18) การใช้ภาษาอังกฤษ 19) ความรู้งานในหน้าที่เลขานุการ 20) ความรู้ในระบบงานและโครงสร้างธุรกิจขององค์กร 21) ความรู้ในงานมวลชนสัมพันธ์ 22) ความรู้เกี่ยวกับองค์กรต่างๆ ที่ต้องติดต่อและทำธุรกรรม และ 23) ความรู้ด้านการบริหารลูกค้าสัมพันธ์ ผลการจัดทำคู่มือการพัฒนาขีดความสามารถในการปฏิบัติงานของเลขานุการผู้บริหาร พบว่ามีความเหมาะสมในการนำคู่มือไปประยุกต์ใช้ในสถานประกอบการ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

[1] Office of the National Economic and Social Development Board. The Annual Economic Report 2014, Bangkok: Office of the National Economic and Social Development Board, 2014 (in Thai).

[2] S. Kiattisakpichit. (2007, September). Professional secretary in present and future [Online]. Available: http://www.nsdv.go.th/commercesupanee/newsecretary.html

[3] K. Vanichbuncha, Statistical Analysis Statistic for Management and Research. 10th ed. Bangkok: Chulalongkorn University Printing House, 2007.

[4] D. C. McClelland, “Testing for competence rather than for intelligence,” American Psychologist, vol. 28, no. 1, pp. 1–14, 1973.

[5] The Society of Corporate Secretaries and Governance Professionals. (2013, July). The corporate secretary: An overview of duties and responsibilities [Online]. Available: http://higher logicdownload.s3.amazonaws.com/GOVER NANCE PROFESSIONALS/26582a95-d501-4284-afd88e18fa9426a2/UploadedImages /HomePageDocs/Corp%20Secretary%20-%20Duties%20and%20Responsibilities.pdf

[6] C. Scivicque. (2008). The effective executive assistant: A guide to creating long-term career success [Online]. Available: http://higherlogicdownload.s3.amazonaws.com/IAAPHQ/6428409eeca4-468f-9fbf-435ed53692d8/UploadedFiles/the%20effective%20 executive%20assistant.pdf

[7] S. Nikornsaen, “A development of training package for competence development of secretaries required by employer,” Ph.D. dissertation, Division of Technical Education Technology, King Mongkut’s University of Technology North Bangkok, 2010 (in Thai).

[8] M. J. Duncan, The New Executive Assistant: Advice for Succeeding in Your Career. United State of America: McGraw-Hill, 1997.

[9] M. Jindawatana, “Guidelines for the development of secretary profession,” Division of Social Administration, Thammasat University, 2002 (in Thai).