เครื่องเคลือบแบบฟลูอิไดซ์เบดชนิดฉีดพ่นจากด้านล่าง: อิทธิพลของตัวแปรที่มีผลต่อประสิทธิภาพการเคลือบเมล็ดข้าวสาร
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างเครื่องผลิตข้าวเคลือบแบบฟลูอิไดซ์เบดขนาดเล็กชนิดฉีดพ่นสารเคลือบจากด้านล่างและศึกษาอิทธิพลของตัวแปรต่างๆ ที่มีผลต่อประสิทธิภาพการเคลือบ การทดลองทำโดยเคลือบสารละลายของขมิ้นชันสกัดลงบนผิวของเมล็ดข้าวสารหอมมะลิ 105 สารเคลือบถูกฉีดพ่นออกจากหัวฉีดด้วยอัตรา 30, 35 และ 40 มล./นาที อากาศที่ป้อนเข้าหัวฉีดมีแรงดัน 1 และ 1.5 บาร์ ฉีดพ่นสารเคลือบเป็นเวลา 8 และ 10 นาที และหลังจากหยุดฉีดพ่นสารเคลือบทำการอบแห้งต่ออีก 30 และ10 วินาที ในขณะที่อากาศไหลเข้าห้องอบแห้งมีความเร็ว 2.5 เมตร/วินาที และอุณหภูมิ 55, 60 และ 65°ซ ปริมาณอากาศร้อนที่นำหมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่ 80% คุณภาพของข้าวที่ผ่านการเคลือบแล้วพิจารณาจากค่า ความชื้น ค่าสีร้อยละการร้าวของเมล็ดข้าวและประเมินประสิทธิภาพการเคลือบ จากการทดลองพบว่าเงื่อนไขที่เหมาะสมสำหรับการผลิตข้าวเคลือบขมิ้นชันสกัดคือ อากาศอบแห้งที่มีอุณหภูมิ 55°ซ อัตราฉีดพ่นสารเคลือบ 40 มิลลิลิตร/นาที แรงดันของอากาศที่ป้อนเข้าหัวฉีด 1.5 บาร์ ฉีดพ่นสารเคลือบเป็นเวลา 8 นาที และหลังจากหยุดฉีดพ่นสารเคลือบทำการอบแห้งต่ออีก 10 วินาที ข้าวเคลือบขมิ้นชันสกัดที่ได้มีลักษณะเป็นสีเหลืองอมแดง การเพิ่มอุณหภูมิอบแห้ง ระยะเวลาที่อบแห้งหลังหยุดพ่นสารเคลือบ และระยะเวลาที่ฉีดพ่นสารเคลือบมีผลทำให้ความชื้นของข้าวเคลือบลดต่ำลง การเพิ่มอุณหภูมิอบแห้งและอัตราฉีดพ่นสารเคลือบไม่มีผลต่อค่าร้อยละการร้าวของเมล็ดและประสิทธิภาพการเคลือบของเครื่องมีค่าอยู่ระหว่าง 78.2–82.9%
Article Details
บทความที่ลงตีพิมพ์เป็นข้อคิดเห็นของผู้เขียนเท่านั้น
ผู้เขียนจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบต่อผลทางกฎหมายใดๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากบทความนั้น
References
[2] Glatt Technology. (2017, November). Fluid Bed Coating. Chungjin Tech Korea. Korea. [Online]. Available: http://www.cjtech.co.kr/Technical %20Process%20Fluid%20Bed%20Coating.htm
[3] K. Dewettinck and A. Huyghebaert, “Top-spray fluidized bed coating: Effect of process variable on coating efficiency,” Lebensmittel Wissenschaft and Technologie - Food Science and Technology, vol. 31, pp. 568–575, 1998.
[4] A. Noykanchana, K. Sinsakul, C. Chansomboon, C. Moonkhum, and T. Teepaibool, “Development of herbal-coated rice using bottom spray fluidized bed coaters,” M.S. thesis, Department of Mechanical Engineering, Faculty of Engineering, Kasetsart University, Kamphangsean Campus, 2014 (in Thai).
[5] P. Prakotmak, “Development of rice kernel coater with fluidized bed process,” The Journal of KMUTNB, vol. 26, no. 3, pp. 385–394, 2016 (in Thai).
[6] A. Palamanit, S. Soponronnarit, S. Prachayawarakorn, and P. Tungtrakul, “Qualities of turmeric extract coated rice using top-spay fluidized bed coating technique,” Agricultural Science Journal, vol. 42, pp. 513–516, 2011 (in Thai).
[7] A. Igauz, M. Rodriguez, and P. Virseda, “Influence of handling and processing of rough rice on fissure and head rice yields,” Journal of Food Engineering, vol. 77, no. 4, pp. 803–809, 2006.
[8] P. Prakotmak, “Modeling coupled transport phenomena and mechanical deformation of rice during drying in fluidized-bed dryer,” in Proceedings The 28th Conference of The Mechanical Engineering Network of Thailand, 2014, pp. 720–729 (in Thai).
[9] P. Prakotmak, “Modeling heat and mass transfer in drying of single-kernel brown rice,” The Journal of King Mongkut’s University of Technology North Bangkok, vol. 24, no. 3, pp. 634–643, 2014 (in Thai).
[10] P. Prakotmak, “Development of rice kernel coater with fluidized bed process,” in Proceedings The 29th Conference of The Mechanical Engineering Network of Thailand, 2015, pp. 976–984 (in Thai).