การจำลองการไหลของน้ำใต้ดินเพื่อวิเคราะห์การแยกเป็นสองทางของหัวร่องน้ำ

Main Article Content

Thanachart Sutidhanakul
Wandee Thaisiam
Adichai Pornprommin

บทคัดย่อ

โครงข่ายลำน้ำในธรรมชาติเกิดจากกระบวนการกัดเซาะที่ลาดดินบริเวณหัวร่องน้ำ ในบางครั้งอาจส่งผลให้เกิดการแยกเป็นสองทางของหัวร่องน้ำ ซึ่งเป็นกระบวนการสำคัญในการเพิ่มขึ้นของลำดับทางน้ำหมายความว่าโครงข่ายแม่น้ำจะมีความซับซ้อนมากขึ้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับลักษณะทางธรณีวิทยาและลักษะทางอุทกวิทยาของแต่ละพื้นที่ลุ่มน้ำ สำหรับงานวิจัยนี้ศึกษาการกัดเซาะบริเวณหัวร่องน้ำเนื่องจากน้ำใต้ดินโดยใช้วิธีเชิงตัวเลข เพื่อจำลองสนามการไหลน้ำใต้ดินและสมมติให้หัวร่องน้ำเป็นรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่ว โดยในงานวิจัยนี้ได้วิเคราะห์หาโอกาสในการเกิดการแยกเป็นสองทางของร่องน้ำจากสมมติฐานที่ว่า หากอัตราการไหลซึมของน้ำใต้ดินบริเวณหัวร่องน้ำสูงสุดไม่ได้อยู่บริเวณแกนสมมาตรของร่องน้ำระหว่างตลิ่งซ้ายและขวาแต่กลับปรากฏที่ 2 จุด บริเวณตลิ่งซ้ายและขวา ซึ่งหมายถึงหัวร่องน้ำถูกกัดเซาะอย่างเข้มข้นบริเวณ 2 จุดดังกล่าว ดังนั้นจะส่งผลให้หัวร่องน้ำแยกเป็นสองทาง พบว่ารูปร่างร่องน้ำและที่มาของแหล่งจ่ายน้ำ (จากต้นน้ำ หรือน้ำฝน) มีอิทธิพลต่อลักษณะของสนามการไหลน้ำใต้ดินและการแยกเป็นสองทางของร่องน้ำ โดยปัจจัยที่มีอิทธิพลอย่างเห็นได้ชัด คือ มุมของหัวร่องน้ำรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่ว ซึ่งเป็นมุมป้านที่มีขนาดมากกว่า 150° และยิ่งสนามการไหลได้รับอิทธิพลจากน้ำฝน จะยิ่งทำให้การแยกเป็นสองทางของร่องน้ำมีโอกาสเกิดสูงยิ่งขึ้นไปอีก

Article Details

บท
บทความวิจัย ด้านวิศวกรรมศาสตร์

References

[1] J. D. Pelletier and J. T. Perron, “Analytic solution for the morphology of a soil-mantled valley undergoing steady headward growth: Validation using case studies in southeastern Arizona,” Journal of Geophysical Research, vol. 117, no. F2, 2012.

[2] A. Pornprommin, N. Izumi, and G. Parker, “Initiation of channel head bifurcation by overland flow,” Journal of Geophysical Research: Earth Surface,” vol. 122, no. 12, pp. 2348–2369, 2017.

[3] A. Pornprommin, Y. Takei, A. M. Wubneh, and N. Izumi, “Numerical simulation of channelization by seepage erosion,” Journal of Applied Mechanics, vol. 12, pp. 887–894, 2009.

[4] O. Devauchelle, P. Petroff, H. F. Seybold, and D. H. Rothman, “Ramification of stream networks,” in Proceedings of the National Academy of Sciences of the United States of America, vol. 109, no. 51, 2012, pp. 20832–20836.

[5] A. Pornprommin, Y. Takei, A. M. Wubneh, and N. Izumi, “Channel inception in cohesionless sediment by seepage erosion,” Journal of Hydro-environment Research, vol. 3, no. 4, pp. 232–238, 2010.

[6] W. Thaisiam, P. Kaewnon, and A. Pornprommin, “Experiment of channelization due to seepage erosion,” International Journal of GEOMATE, vol. 14, no. 46, pp. 137–142, 2018.

[7] F. Turkelboom, J. Poesen, and G. Trébuil, “The multiple land degradation effects caused by land-use intensification in tropical steeplands: A catchment study from northern Thailand,” Catena, vol. 75, no. 1, pp. 102–116, 2008.