การศึกษาเปรียบเทียบทดสอบระหว่างหลังคาทั่วไป กับปล่องหลังคาโซล่าร์เซลล์ระบายอากาศแบบธรรมชาติ ร่วมกับพัดลมไฟฟ้ากระแสตรงและวิเคราะห์ต้นทุนวงจรชีวิต
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้ได้ศึกษาเปรียบเทียบทดสอบระหว่างหลังคาทั่วไป (SRC) กับปล่องหลังคาโซล่าร์เซลล์ระบายอากาศแบบธรรมชาติร่วมกับพัดลมไฟฟ้ากระแสตรง(RSCC) และวิเคราะห์ต้นทุนวงจรชีวิต โดยปล่องหลังคาโซล่าร์เซลล์ RSCC มีลักษณะโครงสร้างประกอบด้วยหลังคาสองชั้นมีขนาดพื้นที่ประมาณ 0.56 ตร.ม. หลังคาชั้นนอกเป็นแผงโซล่าร์เซลล์ขนาด 50 วัตต์ มีความหนา0.015 ม. ร่วมกับกระเบื้องคอนกรีตซีแพคโมเนียสีแดงมีความหนาประมาณ 0.015 ม. และหลังคาชั้นในเป็นแผ่นคอนกรีตมวลเบา มีความหนาประมาณ 0.07 ม. มีช่องว่างประมาณ 0.01 ม. และช่องเปิดด้านล่างอยู่ภายในบ้านมีขนาด 0.15 x 0.70 ตร.ม. จะติดตั้งพัดลมไฟฟ้ากระแสตรงขนาด 5.76 วัตต์ และช่องเปิดด้านบนอยู่ภายนอกมีขนาด 0.10 x 0.3 ตร.ม. ปล่องหลังคาโซล่าร์เซลล์ RSCCติดตั้งอยู่ทางด้านทิศใต้ของบ้านจำลองขนาดเล็กที่มีขนาดเท่ากัน บ้านจำลองมีปริมาตรเท่ากับ 4.05 ลบ.ม. สร้างด้วยผนังมวลเบาแบบอบไอน้ำ เพื่อศึกษาเปรียบเทียบสมรรถนะของบ้านระหว่างบ้านที่ติดตั้งปล่องหลังคาโซล่าร์เซลล์ RSCCกับบ้านที่ติดตั้ง SRC ที่มีผลต่อการลดการสะสมความร้อนภายในห้องใต้หลังคาของบ้านจำลอง ผลการศึกษาทดลองพบว่า บ้านที่ติดตั้งปล่องหลังคาโซล่าร์เซลล์ RSCC มีอุณหภูมิภายในห้องต่ำกว่าอุณหภูมิของบ้านที่ติดตั้งหลังคาทั่วไปประมาณ 0.2 – 6ºC ทำให้อัตราการถ่ายเทความร้อนผ่านหลังคาเข้าสู่บ้านทางด้านทิศใต้จะลดลง จะช่วยระบายอากาศภายในห้องและห้องใต้หลังคาทำให้มีการไหลเวียนของอากาศภายในบ้านดีขึ้น และผลการวิเคราะห์ต้นทุนเชิงเศรษฐศาสตร์ระหว่างบ้านจำลองที่ติดตั้งปล่องหลังคาโซล่าร์เซลล์ RSCC และหลังคาทั่วไป ซึ่งจะมีระยะเวลาการคืนทุน 32.7 ปี และ 61.8 ปี อัตราผลตอบแทนการลงทุนร้อยละ 37 และ 34 ต่อปี ปล่องหลังคาโซล่าร์เซลล์ RSCC จึงเป็นการเปลี่ยนแปลงส่งเสริมการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ในการอนุรักษ์พลังงาน ช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมและคุ้มค่าสำหรับการลงทุน
คำสำคัญ: การวิเคราะห์ต้นทุนวงจรชีวิต ปล่องหลังคาโซล่าร์เซลล์ระบาอากาศ (RSCC) การระบายอากาศแบบธรรมชาติ
Abstract
This paper reports experimental comparativestudy between a Simple Roof Concrete (SRC) andRoof Solar Cells Chimney assisted with DC fan(RSCC) and Life Cycle Cost Analysis. The RSCCconsisted of double roof. Its dimensions of area were0.56 m2 with 50WP external roof, 0.015 m thick solarcells panel, 0.015 m thick red color CPAC Monierand 0.07 m thick autoclave aerated concrete panelinternal roof, 0.01 m air gap. Openings located atthe bottom was 0.15 x 0.70 m2 assisted with 5.76 WPDC fan (room side) and at the top was 0.10 x 0.3 m2(ambient side). RSCC was installed at the south façadeof two small houses of the same dimension, 4.05 m3volume made from autoclaved aerated concrete. Thenthe comparison of performance between SRC andRSCC for reducing thermal heat gain of ceiling, usinganother small house model, was studied. Theexperimental results revealed that indoor temperatureof RSCC room and air indoor under roof was 0.2 –6ºC lower than that of the SRC room. This ventilationreduced heat gain admitted through the south roofconsiderably. Moreover, according to the economicanalysis between the Roof Solar Cells Chimney andthe Simple Roof Concrete it was found that theirpayback periods are 32.7 and 61.8 years; rates of returnare 37 and 34% per annum. The RSCC is expectedto promote solar energy use, save cooling energy andprotect environment and is more appropriate for aninvestment.
Keyworks: Life Cycle Cost Analysis, Roof SolarCells Chimney (RSCC), NaturalVentilation
Article Details
บทความที่ลงตีพิมพ์เป็นข้อคิดเห็นของผู้เขียนเท่านั้น
ผู้เขียนจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบต่อผลทางกฎหมายใดๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากบทความนั้น