ความสัมพันธ์ระหว่างสัมประสิทธิ์การซึมผ่านน้ำกับสัมประสิทธิ์การแทรกซึมของ คลอไรด์ในคอนกรีตหลังแช่น้ำทะเล 10 ปี

Main Article Content

กิรติกร เจริญพร้อม
วิเชียร ชาลี

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการซึมผ่านน้ำในคอนกรีต (k) และสัมประสิทธิ์การแทรกซึมของคลอไรด์ (Dc) ในคอนกรีตที่แช่ในน้ำทะเลเป็นเวลา 10 ปีโดยใช้ส่วนผสมคอนกรีตที่แทนที่ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภทที่ I ด้วยเถ้าถ่านหิจากแม่เมาะในอัตราส่วนร้อยละ0, 15, 25, 35 และ 50 โดยน้ำหนักวัสดุประสานและใช้อัตราส่วนน้ำต่อวัสดุประสานเท่ากับ 0.45, 0.55และ 0.65 (เป็นส่วนผสมเดียวกับกลุ่มที่แช่ในน้ำทะเล)หล่อตัวอย่างคอนกรีตทรงกระบอกขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง100 มม. สูง 200 มม. สำหรับทดสอบการซึมผ่านน้ำในคอนกรีตที่อายุ 28 และ 90 วัน ตลอดจนทดสอบการแทรกซึมของคลอไรด์อิสระในคอนกรีตที่แช่น้ำทะเลเป็นเวลา 10 ปี เพื่อคำนวณหาสัมประสิทธิ์การแทรกซึมของคลอไรด์ในคอนกรีต ผลการศึกษาพบว่า การใช้เถ้าถ่านหินแทนที่ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภทที่ 1 ในปริมาณที่สูงขึ้นส่งผลให้สัมประสิทธิ์การซึมผ่านน้ำที่อายุ 28 วัน มีทิศทางตรงกันข้ามกับสัมประสิทธิ์การแทรกซึมของคลอไรด์ ส่วนสัมประสิทธิ์การซึมผ่านน้ำที่อายุ 90 วันเป็นไปในทิศทางเดียวกับสัมประสิทธิ์การแทรกซึมของคลอไรด์ นอกจากนั้นพบว่า การลดลงของสัมประสิทธิ์การซึมผ่านน้ำในคอนกรีตส่งผลให้สัมประสิทธิ์การแทรกซึมของคลอไรด์ในคอนกรีตมีค่าลดลง โดยส่งผลต่อการลดสัมประสิทธิ์การแทรกซึมของคลอไรด์ในคอนกรีตธรรมดามากกว่าคอนกรีตที่ผสมเถ้าถ่านหิน

คำสำคัญ: สัมประสิทธิ์การซึมผ่านน้ำ สัมประสิทธิ์การแทรกซึมของคลอไรด์ สิ่งแวดล้อมทะเลเถ้าถ่านหิน คอนกรีต

Abstract

This research investigates the relationshipbetween the water permeability coefficient (k) andchloride diffusion coefficient (Dc) of concrete afterbeing exposed to the marine environment for 10years. Concretes was cast by using fly ash from theMea Moh Power Plant to partially replace Portlandcement type I at the percentages of 0, 15, 25, 35 and50 by the weight of the binder. The water-to-binderratios (W/B) were varied at 0.45, 0.55, and 0.65.(the same mix proportions of concrete exposedto marine site). The cylindrical specimens of100-mm in diameter and 200-mm in height were cast forthe water permeability test at 28 and 90 days ofcuring. In order to calculate the chloride diffusioncoefficient, the exposed concrete was tested forfree chloride penetration after being exposed tothe tidal zone of seawater for 10 years. At 28 days,the results showed that the increase of fly ashreplacement of Portland cement type I resulted in anincrease of water permeability coefficient, whichwas the opposite trend of the chloride diffusioncoefficient. In contrast, at 90 days, the increase offly ash resulted in a decrease in water permeabilitycoefficient which was consistent with the chloridediffusion coefficient. In addition, the decrease ofwater permeability in concrete resulted in the decreaseof the chloride diffusion coefficient, which was moreeffective for reducing the chloride diffusion coefficientin normal concrete than in the fly ash concrete.

Keywords: Water Permeability Coefficient, ChlorideDiffusion Coefficient, Marine Environment,Fly Ash, Concrete

Article Details

บท
บทความวิจัย