การเปลี่ยนรูปของหินอันเนื่องจากความแตกต่างตามชนิดของเหลวที่ถูกอัดฉีดสำหรับเทคโนโลยีในการดักจับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์

Main Article Content

Avirut Puttiwongrak

บทคัดย่อ

ปัจจุบันการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สู่ชั้นบรรยากาศมีอัตราสูงขึ้นและเป็นผลทำให้เกิดสภาวะโลกร้อน ดังนั้นการอัดฉีดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เพื่อกักเก็บลงสู่แหล่งกักเก็บที่เหมาะสมใต้ดินเป็นหนึ่งในกระบวนการในการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สู่ชั้นบรรยากาศ การยกตัวสูงขึ้นของผิวดินอันเนื่องมาจากการขยายตัวของชั้นหินจากการอัดฉีดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลงสู่ชั้นใต้ดินจึงต้องมีการคำนึงถึง วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้เพื่อศึกษาและจำลองแบบการเปลี่ยนรูปของชั้นหินอันเนื่องมาจากการอัดฉีดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลงสู่ชั้นหินซึ่งแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของคุณสมบัติของของเหลว โดยการจำลองการเปลี่ยนรูปของหินจากการอัดฉีดของเหลวเข้าสู่ชั้นหินซึ่งเป็นกระบวนการสำคัญสำหรับการกักเก็บและลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เพื่อลดสภาวะโลกร้อนด้วยการทดสอบในห้องปฏิบัติการและการใช้แบบจำลองทางธรณีกลศาสตร์ ผลวิจัยพบว่าค่าคุณสมบัติที่แตกต่างกันของของเหลวที่อัดฉีดเข้าสู่แท่งทดสอบส่งผลถึงค่าการเปลี่ยนรูปของหินที่ต่างกัน ของเหลวที่มีคุณสมบัติเคลื่อนที่และแทรกซึมได้ดีจะทำให้หินเปลี่ยนรูปได้มากกว่า ดังนั้นค่าความดันของไหลที่มีความสัมพันธ์โดยตรงกับการเปลี่ยนรูปของหินไม่ควรเป็นปัจจัยหลักเพียงปัจจัยเดียวสำหรับการคำนวณการเปลี่ยนรูปของหิน ค่าคุณสมบัติของของเหลวที่อัดฉีดเข้าสู่ชั้นหินเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่สำคัญที่จะต้องคำนึงถึงสำหรับการศึกษาการเปลี่ยนรูปของหิน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

[1] J. Gale, “Geological storage of CO2: what do we know, where are the gaps, and what more needs to be done?,” Energy, vol. 29, no. 9–10, pp. 1329–1338, 2004.

[2] R. P. Hepple and S. M. Benson, “Geologic storage of carbon dioxide as a climate change mitigation strategy: Performance requirements and the implications of surface seepage,” Environmental Geology, vol. 47, pp. 576–585, 2005.

[3] S. Holloway, “An overview of the joule II project: The underground disposal of carbon dioxide,” Energy Convers Manages, vol. 37, no. 6–8, pp. 1149–1154, 1996.

[4] E. S. Rubin, IPCC Special Report on Carbon Dioxide Capture and Storage. Cambridge: Cambridge University Press, 2005, pp. 429.

[5] B. H. Russell and T. Smith, “The relationship between dry rock bulk modulus and porosity-An empirical study,” CREWES Research Report, vol. 19, 2007.

[6] F. Gassmann, “Elastic waves through a packing of spheres,” Geophysics, vol. 16, pp. 673–685, 1951.

[7] G. Mavko, T. Mulerji, and J. Dvorkin, The Rock Physics Handbook. Cambridge: Cambridge University Press, 1998.

[8] B. Culshaw, “Measuring strain using optical fibres,” Strain, vol. 36, no. 3, pp. 105–113, 2000.

[9] C. M. Lawrence, D. V. Nelson, E. Udd, and T. Bennett, “A fiber optic sensor for transverse strain measurement,” Experiment Mechanics, vol. 39, no. 3, pp. 202–209, 1999.

[10] J. Q. Shi, Z. Xue, and S. Durucan, “Supercritical CO2 core flooding and imbibition in Tako sandstone – Influence of sub-core scale heterogeneity,” International Journal of Greenhouse Gas Control, pp. 1–13, 2010.

[11] M. M. Alam, I. L. Fabricius, K. Hedegaard, B. Rogen, Z. Hossain, and A. S. Krogsboll, “Biot’s coefficient as an indicator of strength and porosity reduction - Calcereous sediments from Kerguelen Plateau,” Journal of Petroleum Science and Engineering, vol. 70, pp. 282–297, 2010.

[12] G. Mavko and T. Mukerji, “Seismic pore space compressibility and Gassman’s relation,” Geophysics, vol. 60, no. 6, pp. 1743–1749, 1995.

[13] M. H. Chowdhury and D. R. Schmitt, “Seismic behavior of CO2 saturated Fontainebleau sandstone under in situ conditions,” in Proceedings Second International Workshop on Rock Physics, 2012, pp. 1–6.