การวิเคราะห์ลักษณะของวายเปอร์สำหรับกระบวนการขัดหัวอ่าน-เขียนฮาร์ดดิสก์ขั้นสุดท้าย
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการสึกหรอ ความคงทนต่อสารหล่อลื่น และความสามารถในการกรองอนุภาคของวายเปอร์ในกระบวนการขัดหัวอ่าน-เขียนฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟ ซึ่งในงานวิจัยได้วิเคราะห์การสึกหรอของวายเปอร์บริเวณพื้นผิวที่สัมผัสกับแผ่นขัดที่เวลา 4 และ 8 ชั่วโมง โดยวายเปอร์ที่ใช้ศึกษามี 2 ชนิดคือ วายเปอร์ที่ผลิตมาจากชามัวร์และโพลีไวนิลแอลกอฮอล์ (PVA) ด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน (SEM) พบว่าที่เวลา 4 และ 8 ชั่วโมง วายเปอร์ที่ผลิตจากชามัวร์จะมีการสึกหรอน้อยกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับวายเปอร์ที่ผลิตจากโพลีไวนิลแอลกอฮอล์ อีกทั้งยังทำการวิเคราะห์ความคงทนต่อสารหล่อลื่นของวายเปอร์ที่ใช้ในกระบวนการขัดโดยการแช่วายเปอร์ทั้ง 2 ชนิดลงในสารหล่อลื่นเป็นเวลา 4 และ 8 ชั่วโมง พบว่าสัณฐานวิทยาของวายเปอร์ที่ผลิตจากชามัวร์ไม่มีการเปลี่ยนแปลง แต่วายเปอร์ที่ผลิตจากโพลีไวนิลแอลกอฮอล์มีความเป็นรูพรุนลดลง และการวิเคราะห์ความสามารถในการกรองอนุภาคที่หลุดมาจากกระบวนการขัดของวายเปอรผ์ ลิตจากชามัวร์และโพลีไวนิลแอลกอฮอล์โดยใช้ ZnO เป็นตัวแทนอนุภาคที่หลุดมาจากกระบวนการขัดหัวอ่าน-เขียนฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟโดยวัดปริมาณ ZnO บนวายเปอร์ทั้ง 2 ชนิดด้วยเครื่องมือวัดการดูดกลืนแสงของอะตอม (AAS) พบว่าที่ 4 ชั่วโมง วายเปอร์ที่ผลิตจากชามัวร์และวายเปอร์ที่ผลิตจากโพลีไวนิลแอลกอฮอล์ สามารถกรองอนุภาคได้ 67% และ 58% ตามลำดับ ซึ่งวายเปอร์ที่ผลิตจากชามัวร์สามารถกรองอนุภาคหลุดออกมาจากกระบวนการขัดหัวอ่าน-เขียนฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟได้ดีกว่าวายเปอร์ที่ผลิตจากโพลีไวนิลแอลกอฮอล์ (PVA) แต่พบว่าที่ 8 ชั่วโมง วายเปอร์ที่ผลิตจากชามัวร์และโพลีไวนิลแอลกอฮอล์สามารถกรองอนุภาคที่หลุดออกมาจากกระบวนการขัดหัวอ่าน-เขียนฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟได้ 61% และ 65% ตามลำดับ
Article Details
บทความที่ลงตีพิมพ์เป็นข้อคิดเห็นของผู้เขียนเท่านั้น
ผู้เขียนจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบต่อผลทางกฎหมายใดๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากบทความนั้น
References
[2] K. Chunhaboonyatip and A. Jiraprayuklert, “MRR sigma reduction in fine lapping process of slider fabrication,” King Mongkut’s University of Technology Thonburi Research and Development Journal, vol. 32, no. 2–3, pp. 253–266, 2009.
[3] N. Poksup and S. Pluemkmol, “Detecting HGA orientation in shipping tray” in Proceedings the 25th Conference of the Mechanical Engineering Network of Thailand, Krabi, October 19–21, 2013.
[4] P. Youngkong and P. Wonglersak, “An adaptive compensated proportional–derivative controller using artificial neural networks for hard drive lapping machines,” King Mongkut’s University of Technology Thonburi Research and Development Journal, vol. 35, no. 3, pp. 383–396, 2012.
[5] Y. Mei and K. A. Stelson, (2001), “Lapping control of hard disk drive heads,” Journal of Dynamic Systems, Measurement and Control, Transactions of the ASME, vol. 123, no. 3, pp. 439–448, 2000.
[6] M. Zhang, Y. S. Hor, G. Han, and B. Liu, “Slider curvature adjustment through stress control,” IEEE Transactions on Magnetics, vol. 38, no. 5, pp. 2162–2164, September 2002.
[7] J. P. Peng and R. F. Harwood, “Modeling of a general crown shape and the effects on air bearing stedy-state performance,” IEEE Transactions on Magnetics, vol. 32, no. 5, pp. 3711–3713, 1996.
[8] W. Jessada, S. Chakkrit, B. L. Fernandez, T. Santoso, and S. Prakasit, Handbook of the Final Lapping Process, First Edition, Western Digital (Thailand) Co., Ltd., 2013, pp. 170–173.