สภาวะการผลิตไบโอดีเซลจากน้ำมันมะพร้าว

Main Article Content

วัฒนา ปิ่นเสม
นพวรรณ ชนัญพานิช

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้เน้นถึงการผลิตไบโอดีเซลเกรดชุมชนแบบประหยัดจากนำ้มันมะพร้าวซึ่งมีกรดไขมันอิสระ11.5±0.5% โดยใช้เทคนิคการผลิตแบบสองขั้นตอนที่ใช้กรดตามด้วยเบสเป็นตัวเร่งปฏิกิริยา ปฏิกิริยาขั้นตอนแรกเป็นปฏิกิริยาเอสเทอริฟิเคชันของกรดไขมันอิสระในน้ำมัน เร่งด้วยตัวเร่งปฏิกิริยา Fe2(SO4)3 จำนวน 2%อัตราส่วนโมลของเมทานอลต่อน้ำมัน 6:1 เป็นเวลา 4 ชั่วโมงปฏิกิริยาขั้นตอนที่สองเป็นปฏิกิริยาทรานส์เอสเทอริฟิเคชันของน้ำมัน จากขั้นตอนแรกโดยใช้อัตราส่วนโมลของเมทานอลต่อ นำ้มันเท่าเดิมและใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาเป็น NaOH ใช้เวลาทำปฏิกิริยา 1 ชั่วโมง ได้ผลผลิตไบโอดีเซล 86% (CB) ที่เตรียมได้มีความหนืดเท่ากับ 3.2 cSt และจุดไหลเทเท่ากับ -5oCดังนั้นสามารถนำCB ไปใช้ในพื้นที่ที่มีอากาศเย็นหรือผสมกับไบโอดีเซลจากน้ำมันชนิดอื่น จากผลการศึกษานี้อาจสรปุได้ว่าในการเตรียมไบโอดีเซลจากน้ำมันมะพร้าวแบบใช้เบสเป็นตัวเร่งปฏิกิริยานั้นกรดไขมันอิสระในน้ำมันไม่ควรเกิน 4%

คำสำคัญ: ไบโอดีเซลจากน้ำมันมะพร้าว กรดไขมันอิสระทรานส์เอสเทอริฟิเคชัน เอสเทอริฟิเคชันกรดลิวอิส จุดไหลเท

Abstract

This research was aimed to find an economic conditionproducing community grade biodiesel from coconutoil, having free fatty acid (FFA) content of 11.5±0.5%.The coconut biodiesel, CB, production must be carriedout via two-step acid-base catalyzed reaction. The firststep was carried out under esterification of the FFAwith 2%Fe2(SO4)3 and a molar ratio of methanol tooil of 6:1 for 4 hours, following by the second step,transesterification, using NaOH as a catalyst with amolar ratio of methanol to oil of 6:1 for 1 hour, yielding86% of CB. From our finding, it can be concluded thatthe coconut oil with less than 4% FFA was qualified toproduce biodiesel via basic catalyzed reaction. CB exhibitedviscosity of 3.2 cSt (mm2s-1) and pour point of -5oC, hence,it can be used or blend with other biodiesel in cold area.

Keywords: Coconut Biodiesel, Free Fatty Acid,Transesterification, Esterification, LewisAcid, Pour Point

Article Details

บท
บทความวิจัย