การพัฒนาระบบบริหารจัดการกองทุนเพื่อนิสิต คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยพะเยา
คำสำคัญ:
ระบบสารสนเทศ, ระบบบริหารจัดการกองทุน, กองทุนเพื่อนิสิตบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้เพื่อแก้ไขการดำเนินงานของกองทุนเพื่อนิสิตของคณะที่ค่อนข้างล่าช้าและการรวบรวม จัดเก็บและวิเคราะห์ข้อมูล ที่ส่วนใหญ่อยู่ในรูปแบบเอกสารกระดาษซึ่งต้องใช้พื้นที่สำนักงานในการจัดเก็บ เสี่ยงต่อการสูญหาย การสืบค้นข้อมูลมีความยุ่งยากสับสน ซึ่งมีผลกระทบทำให้นิสิตได้เงินทุนการศึกษาล่าช้า ให้มีความสะดวกและการดำเนินงานให้เร็วขึ้น โดยวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาระบบบริหารจัดการกองทุนเพื่อนิสิตคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยพะเยา และ 2) เพื่อประเมินประสิทธิภาพของระบบบริหารจัดการกองทุนเพื่อนิสิตคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยพะเยา วิธีการศึกษาเป็นการวิจัยและพัฒนาตามแนวคิดวงจร การพัฒนาระบบ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหา จำนวน 3 คน ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาระบบและการบริหารจัดการกองทุน จำนวน 5 คน และนิสิตคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่มีความประสงค์ยื่นขอรับทุน ประจำปีการศึกษา 2566 จำนวน จำนวน 141 คน โดยวิธีเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) ระบบบริหารจัดการกองทุนเพื่อนิสิตคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยพะเยา และ 2) แบบประเมินประสิทธิภาพของระบบโดยผู้เชี่ยวชาญและผู้ใช้งานระบบ ผลการศึกษาพบว่า ระบบที่พัฒนาขึ้นมีคุณสมบัติครอบคลุมการดำเนินงานด้านการสมัครของรับทุนของนิสิต และการติดตามผลการพิจารณาสนับสนุนทุนเพื่อการศึกษา ผลการประเมินประสิทธิภาพของระบบทั้งจากผู้เชี่ยวชาญและผู้ใช้งานระบบ พบว่าระบบมีประสิทธิภาพในภาพรวมอยู่ในระดับดี (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.06 และ 4.08 ตามลำดับ)
References
ชลาลัย เหง้าน้อย. (2561). การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารโครงการบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). สกลนคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
บุญเชิด ภิญโญอนันพงษ์. (2545). ประมวลสาระวิชาการพัฒนาเครื่องมือสำหรับการประเมินผลการศึกษา. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมมาธิราช.
ปัทมา ทองสม. (2560). การพัฒนาระบบสารสนเทศสถาบันพระบรมราชชนก. วารสารการพยาบาลและการศึกษา, 10(3), 1-13.
มนัสนันทน์ บุญปาลวงศ์. (2560). การพัฒนาระบบสารสนเทศสหกิจศึกษา. วารสารเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทนาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 7(2), 96-116.
มหาวิทยาลัยพะเยา. (2564). เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals : SDGs). สืบค้นจาก http://uprankings.up.ac.th/index.php/rankingpage2021/learningsdgs.
ยุทธนา ศรีเปรื่อง. (2555). การนำระบบสารสนเทศมาใช้จัดการด้านบัญชีของกองทุนหมู่บ้านภายในอำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี (บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). สาขาการบริหารธุรกิจ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี, จังหวัดจันทบุรี.
สุเมธ พิลึก และจักพันธ์ จันทร์เขียว (2559). การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการเงินกองทุนสวัสดิการชุมชนกรณีศึกษาจังหวัดนครสวรรค์. วารสารวิชาการสมาคมสถาบันอุดมศึกษาแห่งประเทศไทย, 5(1), 48-59.
สมบูรณ์วัลย์ สัตยารักษ์วิทย์. (2541). การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างองค์การอันเนื่องมาจากเทคโนโลยีสารสนเทศ: กรณีขององค์การไทย. วารสารพัฒนบริหารศาสตร์, 38(1), 19-46.
สุคนธ์ทิพย์ ทินาภรณ์ ธีรพงษ์ วิริยานนท์ และกรรณ จรรยาวุฒิวรรณ์. (2559). การพัฒนาระบบสารสนเทศ เพื่อส่งเสริมสรรถนะการออกแบบการเรียนการสอนของอาจารย์ระดับอุดมศึกษา. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับวิทยาศาสตร์ละเทคโนโลยี, 10(3), 270-284.
สมชาย วรกิจเกษมสกุล (2553). ระเบียบวิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 2). https://pubhtml5.com/qrep/rwey/ระเบียบวิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์/206.
Bhandari, G., & Snowdon, A. (2012). Design of a Patient-Centric, Service-Oriented Health Care Navigation System for a Local Health Integration Network. Behaviour & Information Technology, 31(3), 275-285.
Bouadjeneka, M.R., Hacidc, H., & Bouzeghoubd, M. (2016). Social Networks and Information Retrieval, how are They Converging? A Survey, a Taxonomy and an Analysis of Social Information Retrieval Approaches and Platforms. Informืๅืation Systems, 56(C), 1-18.
Best, J.W. & Khan, J.V. (1998). Research in education (8 th ed). Boston: Allyn & Bacon.
Laudon, K.C., & Laudon, J.P. (2012). Management Information Systems: Managing the Digital Firm Twelfth Edition. Upper Saddle River, New Jersey: Prentice Hall.
