การประเมินน้ำต้นทุนและความต้องการใช้น้ำเพื่อเกษตรกรรมในพื้นที่ตำบลบ้านกลาง อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์

ผู้แต่ง

  • รังสรรค์ เกตุอ๊อต ภาควิชาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม คณะเกษตรศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก 65000
  • ธัญญารัตน์ กะบัง ภาควิชาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม คณะเกษตรศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก 65000

คำสำคัญ:

ปริมาณน้ำต้นทุน, ความต้องการใช้น้ำเพื่อการเกษตรกรรม, ตำบลบ้านกลาง

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปริมาณน้ำต้นทุนและความต้องการใช้น้ำเพื่อเกษตรกรรมในพื้นที่ตำบลบ้านกลาง อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ พร้อมเสนอแนวทางรูปแบบการปลูกพืชให้สอดคล้องกับปริมาณน้ำต้นทุน วิธีดำเนินการวิจัยประกอบด้วย การประเมินปริมาณน้ำต้นทุน (water budget) จากปริมาณน้ำท่า (R) ด้วยสมการ
R = PCA โดยใช้ข้อมูลปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยรายเดือน 30 ปี (P) สถานีอุตุนิยมวิทยาหล่มสัก จากศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคเหนือ ค่าสัมประสิทธิ์น้ำท่าจากข้อมูลการใช้ประโยชน์ที่ดิน (C) จากกรมพัฒนาที่ดิน และขนาดพื้นที่ศึกษา (A) ร่วมกับการวิเคราะห์ปริมาณความต้องการน้ำของพืช (ET) จากสมการ ET = Kc * ETP ประกอบด้วยค่าสัมประสิทธิ์
การใช้น้ำของพืช (Kc) และค่าศักยภาพระเหยน้ำของพืชหรือการใช้น้ำของพืชอ้างอิง (ETP) จากนั้นทำการเปรียบเทียบปริมาณน้ำต้นทุนกับปริมาณความต้องการใช้น้ำรายเดือน เพื่อวิเคราะห์ความเพียงพอหรือความไม่เพียงพอของปริมาณน้ำเพื่อเกษตรกรรมในพื้นที่

ผลการศึกษาพบว่า พื้นที่ตำบลบ้านกลางมีปริมาณน้ำต้นทุน รวม 116,867.68 ลูกบาศก์เมตรต่อปี ในขณะที่มีปริมาณความต้องการใช้น้ำเพื่อเกษตรกรรมรวม 328,532.06 ลูกบาศก์เมตรต่อปี คิดเป็นปริมาณน้ำที่ขาดแคลนอยู่ประมาณ 211,664.38 ลูกบาศก์เมตรต่อปี เมื่อพิจารณาเป็นรายเดือนพบว่า มีเพียง 2 เดือนที่ปริมาณน้ำต้นทุนมากกว่าปริมาณความต้องการใช้น้ำเพื่อเกษตรกรรม คือ เดือนสิงหาคมและเดือนพฤษภาคม โดยมีปริมาณน้ำส่วนเกินอยู่ที่ 4,230,614 และ 3,766,929 ลูกบาศก์เมตร ตามลำดับ สำหรับเดือนที่มีปริมาณน้ำต้นทุนน้อยกว่าปริมาณความต้องการใช้น้ำเพื่อเกษตรกรรม คิดเป็นปริมาณมากที่สุดคือ เดือนตุลาคม พฤศจิกายน ธันวาคม และกุมภาพันธ์ โดยมีปริมาณน้ำที่ขาดแคลนอยู่ที่ 49,286,849 , 42,701,630 , 35,270,463 และ 26,144,015 ลูกบาศก์เมตร ตามลำดับ ผลการศึกษาที่ได้สามารถนำมาใช้ในการวางแผนการปลูกพืชให้สอดคล้องกับปริมาณน้ำต้นทุน และ
อาจปรับระบบการปลูกพืชให้เหมาะสมกับปริมาณน้ำที่มีอยู่อย่างจำกัดได้ต่อไป

References

กรมอุตุนิยมวิทยา. (2564). หนังสืออุตุนิยมวิทยา เรื่อง ภัยแล้ง (drought). สืบค้นจาก https://www.tmd.go.th/info/info.php?FileID=71

ไชยสิทธิ์ เอนกสัมพันธ์. (2553). แนวทางการวางแผนและออกแบบระบบอนุรักษ์ดินและน้ำในไร่นา คู่มือเจ้าหน้าที่ของรัฐ การอนุรักษ์ดินและน้ำในเขตพัฒนาที่ดิน. กรุงเทพฯ: กรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

ทัศวรรณ หานุภาพ. (2556). การประเมินน้ำต้นทุนในเขตจังหวัดภูเก็ต. สงขลา: สาขาวิชาเทคโนโลยีและการจัดการสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

ธรรมนูญ แก้วคงคา. (2549). เอกสารวิชาการ การให้น้ำชลประทานกับพืช. กรุงเทพฯ: กลุ่มวิจัยปฐพีวิทยา สำนักวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร กรมวิชาการเกษตร.

ศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคเหนือ. (2566). ปริมาณน้ำฝนสถานีตรวจวัดน้ำฝนอำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ รอบ 30 ปี ระหว่างปี พ.ศ. 2535-2564. กรมอุตุนิยมวิทยา.

สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์. (2563). เดินหน้าแก้ไขปัญหาภัยแล้งในพื้นที่จังหวัดเพชรบูรณ์. สืบค้นจาก https://thainews.prd.go.th/th/news/detail/TCATG200418173005243

สำนักงานเกษตรอำเภอหล่มสัก. (2565). ผลการขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกพืช ปี 2564/65. สำนักงานเกษตรอำเภอหล่มสัก กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

อนิรุจน์ คำนล. (2561). การประเมินน้ำต้นทุนและความต้องการใช้น้ำเกษตรกรรมในพื้นที่ลุ่มน้ำยม. กรุงเทพฯ: สาขาวิชาการจัดการสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านกลาง. (2565). สภาพทั่วไปของตำบลบ้านกลาง. สืบค้นจาก https://www.ban-klang.go.th/condition.php

Downloads

เผยแพร่แล้ว

04/10/2023