การจำแนกประเภทข้อมูลการท่องเที่ยวในจังหวัดพะเยาโดยการใช้เทคนิคต้นไม้ตัดสินใจ
คำสำคัญ:
การจำแนกประเภท, ต้นไม้ตัดสินใจ, นักท่องเที่ยว, พะเยาบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) การจำแนกประเภทข้อมูลการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวในจังหวัดพะเยาโดยการใช้เทคนิคต้นไม้ตัดสินใจ 2) เพื่อสร้างโมเดลต้นแบบการจำแนกข้อมูลของนักท่องเที่ยวในจังหวัดพะเยา ขั้นตอนการสร้างโมเดลโดยการใช้โปรแกรมสำเร็จรูป WEKA ในการจำแนกประเภทข้อมูลด้วยอัลกอริทึมต้นไม้ตัดสินใจ (decision tree) ข้อมูลที่ใช้ในการทดลองได้จากแบบสอบถามนักท่องเที่ยวในจังหวัดพะเยา ซึ่งมีจำนวนทั้งหมด 481 ตัวอย่าง และมีจำนวนแอทริบิวต์ทั้งหมด 23 คอลัมน์ โดยรวบรวมข้อมูลในช่วงระหว่างเดือนมกราคมถึงกรกฎาคม ปี 2563 ในส่วนของการสร้างฐานข้อมูลเพื่อจัดเก็บข้อมูลนักท่องเที่ยวด้วยโปรแกรม MySQL ผลลัพธ์ที่ได้จากวิธีการนี้คือ ได้รับค่าความถูกต้องดีที่สุดคือ 81.70% เมื่อใช้เทคนิคต้นไม้ตัดสินใจเป็นตัวจำแนกประเภท ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับคือ ได้ต้นแบบโมเดลการจำแนกประเภทข้อมูลการท่องเที่ยวของนักเที่ยวในจังหวัดพะเยา
References
การท่องเที่ยวแห่งประเทศ. (2559). รายงานประจำปี พ.ศ.2559 กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.
การท่องเที่ยวแห่งประเทศ. (2562). ประเภทการท่องเที่ยว. สืบค้นจาก https://sites.google.com/site/ archcommunitydevelopment/tourism.
เกรียงศักดิ์ รักภักดี และ วชิระ โมราชาติ. (2561). การใช้เทคนิคเหมืองข้อมูลเพื่อพัฒนาฐานข้อมูลแนะนำแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ ในจังหวัดอุบลราชธานี จากความต้องการและพฤติกรรมของนักท่องเที่ยว. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, 11(3),165-177.
ชนพัฒน์ ช่วยครุฑ, อมรฤทัย ภูสนาม และ อรอนงค์ เดชมณี. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อพฤติกรรมการท่องเที่ยวของเยาวชนไทยหลังยุคโควิด 19. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 10(3), 187-201.
ดรรชนี เอมพันธุ์และคณะ. (2562). โครงการการพัฒนาการบริหารจัดการการท่องเที่ยวตามขีดความสามารถการรองรับการใช้ประโยชน์ด้านนันทนาการในอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน. สืบค้นจาก http://park.dnp.go.th/fileการพัฒนาการบริหารจัดการการท่องเที่ยว%20อช.หมู่เกาะสิมิลัน.pdf.
นโรดม กิตติเดชานุภาพ. (2558). การพัฒนาแบบจำลองการแนะนำสถานที่ ท่องเที่ยวรายบุคคล. สืบค้นจาก http://sutir.sut.ac.th:8080/jspui/bitstream/123456789/5950/2/Fulltext.pdf.
วิโรจน์ ยอดสวัสดิ์, สาโรช ปุริสังคหะ, วิมล กิตติรักษ์ปัญญา และ อนงค์นาฎ ศรีวิหค. (2560). การสร้างต้นแบบนักท่องเที่ยวภายในประเทศไทยโดยใช้ เทคนิคการจัดกลุ่มและกฎความสัมพันธ์ กรณีศึกษา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารวิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 27(4), 829-841.
ศจี วานิช. (2558). Data Mining (เหมืองข้อมูล). สืบค้นจาก https://sajeegm301.blogspot.com/2015/11/data-mining.html.
สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดพะเยา. (2558). ประเพณีปู่จาพญาลอ(พะเยา). สืบค้นจาก https://phayao.m-culture.go.th/th/db_23_phayao_32/130840.
สิทธิชัย บุษหมั่น และ ทศพล ฤทธิ์เจริญวัตถุ. (2558). การพัฒนาระบบแนะนำแหล่งท่องเที่ยวของจังหวัดมหาสารคาม. สืบค้นจาก http://research.rmu.ac.th/rdi-mis//upload/fullreport/1607006848.pdf.
Yotsawat, W., & Srivihok, A. (2016). Thai domestic tourists clustering model using machine learning techniques: Case study of Phranakhon si Ayutthaya Province, Thailand. International Information Institute, 19(2), 413-422.
