การสำรวจและจัดทำฐานข้อมูลภูมิสารสนเทศของพืชริมลำน้ำบริเวณห้วยแม่กาหลวง อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา
คำสำคัญ:
ฐานข้อมูลภูมิสารสนเทศ, พืชริมลำน้ำ, ห้วยแม่กาหลวงบทคัดย่อ
การสำรวจพืชริมลำน้ำบริเวณห้วยแม่กาหลวงที่มีความหนาแน่นและสามารถพบได้มากที่สุดในบริเวณนี้ คือ จามจุรี รองลงมาคือ มะเดื่อ ไทร และปอ ตามลำดับ จากค่าความหนาแน่นและความถี่ของการแพร่กระจายทำให้ทราบว่า โดยเฉลี่ยแล้ว ทุกๆ ระยะ 200 เมตรตามลำน้ำ จะพบจามจุรีอยู่อย่างน้อย 1 ต้น รองลงมาคือ ปอ มะเดื่อ และไทร ซึ่งโดยเฉลี่ยแล้วจะพบทุกๆ ระยะ 429, 751 และ 1,000 เมตร ตามลำดับ สภาพแวดล้อมของพื้นที่ยังเป็นตัวกำหนดความหนาแน่นและการกระจายตัวของพืชริมลำน้ำ กล่าวคือ บริเวณที่เป็นป่าโปร่ง พื้นที่รกร้าง และทุ่งหญ้า จะพบพืชริมลำน้ำกระจายตัวอยู่บางส่วนถึงหนาแน่น ในขณะที่บริเวณซึ่งเป็นชุมชน ได้แก่ หอพัก ที่อยู่อาศัย ร้านค้า ร้านอาหาร รวมทั้งพื้นที่เกษตรกรรมและพื้นที่ว่างเปล่ารอการใช้ประโยชน์ซึ่งมีการปรับสภาพพื้นที่และถมดิน จะพบพืชริมลำน้ำอยู่เบาบางหรืออาจจะไม่พบอยู่เลย
References
กรมทรัพยากรน้ำ. (2548). ข้อมูลลุ่มน้ำโขงภาคเหนือ. สำนักงานทรัพยากรน้ำภาค 1 ลำปาง. สืบค้นจาก http://water.dwr.go.th/wrro1/index.php/th/10-2018-04-26-09-15-31
ช่อผกา ยอดสุทธิ. (2560) การประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์และการสำรวจระยะไกลเพื่อตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ชุ่มน้ำบึงสีไฟ จังหวัดพิจิตร. (ปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต), มหาวิทยาลัยนเรศวร.
ไซมอน การ์ดเนอร์ พินดา สิทธิสุนทร และวิไลวรรณ อนุสารสุนทร. (2543). ต้นไม้เมืองเหนือ: คู่มือศึกษาพรรณไม้ยืนต้นในป่าภาคเหนือประเทศไทย. กรุงเทพฯ: โครงการจัดพิมพ์คบไฟ.
นิตยา บุญช่วย. (2561). การใช้ระบบภูมิสารสนเทศร่วมกับข้อมูลการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงพื้นที่เกษตรกรรม ตำบลนางแล อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย. (ปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต), มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.
