การส่งบทความ

เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน เพื่อส่งบทความ

รายการตรวจสอบก่อนส่งบทความ

ในขั้นตอนการส่งบทความ ผู้แต่งต้องตรวจสอบและปฏิบัติตามข้อกำหนดรายการตรวจสอบการส่งทุกข้อ ดังต่อไปนี้ และบทความอาจถูกส่งคืนให้กับผู้แต่งกรณีที่ไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดทั้งหมด
  • ผลงานที่ส่งมาไม่เคยได้รับการเผยแพร่มาก่อน และไม่เคยตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารอื่นเพื่อการพิจารณา (หรือมีคำอธิบายถึงบรรณาธิการ)
  • ไฟล์บทความที่ส่งอยู่ในรูปแบบไฟล์เอกสาร OpenOffice, Microsoft Word หรือ RTF
  • การอ้างอิง หากมี URL ให้ระบุด้วย
  • ข้อความเป็นไปตามข้อกำหนดและบรรณานุกรมที่ระบุไว้ในแนวทางผู้เขียน

คำแนะนำผู้แต่ง

คำแนะนำสำหรับการใช้ทำงานผ่านระบบวารสารออนไลน์: คลิกอ่านเอกสาร

คำแนะนำผู้นิพนธ์:

คำแนะนำสำหรับผู้นิพนธ์ (กรุณาดูรายละเอียดการเขียนเพิ่มเติมจาก ไฟล์คำแนะนำผู้นิพนธ์)

  วารสารวิชาการเพื่อพัฒนานวัตกรรมเชิงพื้นที่

        (การเตรียมต้นฉบับ)

  1. ต้นฉบับพิมพ์เป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษก็ได้ แต่ละเรื่องจะต้องมีบทคัดย่อทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษการใช้ภาษาไทยให้ยึดหลักการใช้คำศัพท์และการเขียนทับศัพท์ภาษาอังกฤษ ตามหลักของราชบัณฑิตยสถาน ให้หลีกเลี่ยง การเขียน ภาษาอังกฤษปนภาษาไทยในข้อความ ยกเว้นกรณีจำเป็น เช่นศัพท์ทางวิชาการที่ไม่มีคำแปล หรือคำที่ใช้แล้ว ทำให้เข้าใจง่ายขึ้นคำศัพท์ภาษาอังกฤษที่เขียนปนภาษาไทยให้ใช้ตัวเล็กทั้งหมดยกเว้นชื่อเฉพาะสำหรับต้นฉบับภาษาอังกฤษควรได้รับการตรวจสอบความถูกต้องด้านการใช้ภาษาจากผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาอังกฤษก่อน
  2. ขนาดของต้นฉบับ ใช้กระดาษขนาด A4 ตัวหนังสือแบบ TH Niramit AS และพิมพ์โดยเว้นระยะห่างจากขอบกระดาษด้านละ 1 นิ้ว โดยมีระยะห่างระหว่างบรรทัด เป็นแบบ single space เพื่อสะดวกในการอ่านและการแก้ไข
  1. ชนิดและขนาดตัวอักษร ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

         - ชื่อเรื่องใช้ตัวอักษรขนาด 18 pt.ตัวหนา

         - ชื่อผู้นิพนธ์ใช้ตัวอักษรขนาด 16 pt. ตัวปกติ

         - หัวข้อหลักใช้ตัวอักษรขนาด 16 pt. ตัวหนา

         - หัวข้อรองใช้ตัวอักษรขนาด 14 pt. ตัวหนา

         - บทคัดย่อและเนื้อเรื่องใช้ตัวอักษรขนาด 14 pt. ตัวปกติ

         - เชิงอรรถหน้าแรกที่เป็นที่อยู่ของผู้นิพนธ์ ใช้อักษรขนาด 12 pt. ตัวปกติ เนื้อหาใช้การกระจายตัวอักษรแบบ Thai Distributed

       4. การส่งต้นฉบับ ผู้เสนอผลงานจะต้องส่งต้นฉบับแบบพิมพ์ ในรูปแบบของอิเล็กทรอนิคส์ไฟล์แบบ “.doc” (MS Word)

       5. จำนวนหน้า ความยาวของบทความไม่ควรเกิน 15 หน้า รวมตาราง รูปภาพ และเอกสารอ้างอิง

       6. รูปแบบการเขียนต้นฉบับ แบ่งเป็น 2 ประเภทได้แก่

            1. ประเภทบทความรายงานผลงานวิจัย (research article)

            2. ประเภทบทความวิชาการที่ทันสมัย หรือจากการทบทวนเอกสารงานวิจัยใหม่ ๆ ที่ผู้อื่นได้ทำไว้มาก่อน (review article)

        7. ใส่เลขหน้ากำกับทุกหน้าตรงกลางด้านบนของกระดาษ A4

การเรียงลำดับหัวข้อในบทความ

  1. ชื่อเรื่อง (Title)  ควรจะสั้น กะทัดรัดและสื่อเป้าหมายหลักของงานวิจัย ไม่ใช้คำย่อ ความยาวไม่ควรเกิน 100 ตัวอักษร (ประมาณ 2 บรรทัด) ชื่อเรื่องให้มีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ต้นฉบับภาษาไทยให้พิมพ์ชื่อเรื่องภาษาไทยก่อนแล้วตามด้วยภาษาอังกฤษ ให้สื่อความหมายเหมือนกัน 
  2. ชื่อผู้นิพนธ์ [Author(s)] และที่อยู่ให้มีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ และระบุหน่วยงานหรือสถาบันที่สังกัดและ E-mail address ของผู้นิพนธ์ เพื่อกองบรรณาธิการและผู้ที่สนใจสามารถติดต่อได้ หากมีผู้นิพนธ์มากกว่า 5 คนให้เรียงลำดับตามความสำคัญ
  3. บทคัดย่อ (Abstract)เป็นการย่อเนื้อความงานวิจัยทั้งเรื่องให้สั้นและมีเนื้อหาครบถ้วนตามเรื่องเต็ม ความยาวไม่เกิน 250 คำ ไม่ควรมีคำย่อ ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
  4. คำสำคัญ (Keywords)ให้ระบุไว้ท้ายบทคัดย่อของแต่ละภาษาประมาณ 3-5 คำ
  5. บทนำ (Introduction) เป็นส่วนเริ่มต้นของเนื้อหาที่บอกความเป็นมา เหตุผล และวัตถุประสงค์ที่นำไปสู่การวิจัยนี้ควรให้ข้อมูลทางวิชาการที่เกี่ยวข้องจากการตรวจเอกสารประกอบ
  6. วัตถุประสงค์ (Objective)เพื่อกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจนในการศึกษาวิจัยในประเด็นที่ต้องการศึกษา โดยมีการกำหนดหลักเกณฑ์ดังนี้ ประเด็นที่กำหนดจะต้องมีความชัดเจน, ต้องไม่มีความซ้ำซ้อนกันในประเด็นย่อย และจัดลำดับความสัมพันธ์ระหว่างประเด็น
  7. แนวคิด ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง (ถ้ามี) (Concept and Literature review) การค้นคว้าเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่ต้องการศึกษาแนวคิด และ ทฤษฎีที่นำมาใช้ในงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาวิจัย
  8. กรอบแนวคิด (ถ้ามี) (Conceptual Framework) การวิจัยซึ่งประกอบด้วยตัวแปร และการระบุความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร ในการสร้างกรอบแนวคิดการวิจัยจะต้องมีกรอบพื้นฐานทางทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับปัญหาที่ศึกษา นำมาประมวลเป็นกรอบในการกำหนดตัวแปร และรูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต่าง ๆ  ในลักษณะของกรอบแนวคิดการวิจัยและพัฒนาเป็นแบบจำลองในการวิจัยต่อไป
  9. สมมุติฐาน (ถ้ามี) (Research hypothesis) แสดงให้เห็นว่าผลการศึกษาตามวัตถุประสงค์และแสดงความคิดเห็นพร้อมทั้งเปรียบเทียบของงานวิจัยในอดีต หรือเปรียบเทียบผลงานวิจัยในประเด็นที่คล้ายคลึงกันในอดีต โดยมีแหล่งอ้างอิงที่เชื่อถือได้
  10. วิธีการดำเนินการวิจัย (Methodology) ให้ระบุรายละเอียดวัสดุ อุปกรณ์ สิ่งที่นำมาศึกษา จำนวน ลักษณะเฉพาะของตัวอย่างที่ศึกษา อธิบายวิธีการศึกษา แผนการทดลองทางสถิติ วิธีการเก็บข้อมูล การวิเคราะห์ และการแปรผล 
  11. ผลการศึกษา (Results)รายงานผลที่ค้นพบ ตามลำดับขั้นตอนของการวิจัย อย่างชัดเจนได้ใจความถ้าผลไม่ซับซ้อนและมีตัวเลขไม่มากควรใช้คำบรรยาย แต่ถ้ามีตัวเลขหรือตัวแปรมากควรใช้ตารางหรือแผนภูมิแทน ไม่ควรมีเกิน 5 ตารางหรือแผนภูมิ
  12. สรุปและอภิปรายผล (Conclusion and Discussion)แสดงให้เห็นว่าผลการศึกษาตามวัตถุประสงค์และแสดงความคิดเห็นพร้อมทั้งเปรียบเทียบของงานวิจัยในอดีต หรือเปรียบเทียบผลงานวิจัยในประเด็นที่คล้ายคลึงกันในอดีต โดยมีแหล่งอ้างอิงที่เชื่อถือได้
  13. ข้อเสนอแนะ  (ถ้ามี) (Suggestion) เพื่อนำผลการวิจัยไปใช้ในการทำวิจัยครั้งต่อไป ซึ่งต้องอยู่บนพื้นฐานจากผลงานวิจัยนั้น ๆ และความเป็นไปในแง่ทฤษฎี และแนวปฏิบัติ
  14. กิตติกรรมประกาศ (Acknowledgements) (ถ้ามี) ระบุสั้น ๆ ว่างานวิจัยนี้ได้รับทุนสนับสนุน และความช่วยเหลือจากองค์กรใดหรือผู้ใดบ้าง
  15. เอกสารอ้างอิง (References) ระบุรายการเอกสารที่นำมาใช้อ้างอิงให้ครบถ้วน โดยใช้อ้างอิงแบบ APA (American Psychological Association) คือ ให้เรียงเอกสารที่ใช้อ้างอิงทั้งหมดตามลำดับตัวอักษรตัวแรกของรายการทีอ้างอิง โดยยึดวิธีการเรียงลำดับตามแบบพจนานุกรม โดยมีเอกสารอ้างอิงภาษาไทยก่อนภาษาต่างประเทศ

ตัวอย่างการเขียนต้นฉบับบทความ (manuscript template)

ขั้นตอนของผู้แต่ง (authors) ในระบบ ThaiJO 2.0

ฟอนต์ TH Niramit AS

นโยบายส่วนบุคคล

- ชื่อและที่อยู่อีเมลที่ป้อนในเว็บไซต์วารสารนี้จะถูกใช้เพื่อวัตถุประสงค์ที่ระบุไว้ของวารสารนี้โดยเฉพาะและจะไม่ถูกนำไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์อื่นใดหรือให้กับบุคคลอื่นใด

- บทความวิจัยและบทความวิชาการทุกเรื่องได้รับการพิจารณากลั่นกรองโดยผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer review) จากทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย

- บทความ ข้อความ ภาพประกอบ และตาราง ที่ตีพิมพ์ลงวารสาร เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้นิพนธ์เอง กองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยเสมอไป และไม่มีส่วนรับผิดชอบใดๆ ถือว่าเป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์แต่เพียงผู้เดียว

- บทความใดที่ผู้อ่านเห็นว่าได้มีการลอกเลียนหรือแอบอ้าง โดยปราศจากการอ้างอิงหรือทำให้เข้าใจผิดว่าเป็นผลงานของผู้นิพนธ์ กรุณาแจ้งให้ทางกองบรรณาธิการวารสารทราบ จะเป็นพระคุณยิ่ง