การศึกษาข้อมูลทรัพยากรทางวัฒนธรรมของชุมชนรอบกว๊านพะเยา และ การศึกษามาตรฐานเว็บไซต์เพื่อพัฒนาระบบข้อมูลสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
คำสำคัญ:
แบบจำลองน้ำตก / ทรัพยากรทางวัฒนธรรม / การแปลงข้อมูลเชิงพื้นที่เป็นฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ / แผนที่ทรัพยากรรอบกว๊านพะเยา / ระบบข้อมูลสนับสนุนชุมชนบทคัดย่อ
รอบกว๊านพะเยาเป็นหนึ่งในแหล่งทรัพยากรทางวัฒนธรรมสำคัญของจังหวัดพะเยาอาจเพราะว่า ข้อมูลสารสนเทศที่ไม่มีประสิทธิภาพจึงเป็นปัจจัยหนึ่งทำให้พื้นที่รอบกว๊านพะเยายังไม่ได้รับการพัฒนาที่เหมาะสม ดังนั้นจึงควรพัฒนาระบบฐานข้อมูลทรัพยากรรอบกว๊านพะเยาให้สามารถไปใช้สนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมได้จนนำไปสู่การอนุรักษ์และการท่องเที่ยว กรอบการดำเนินงานตาม SDLC : Waterfall Model จึงทำให้มีการกำหนด เป้าสำเร็จในการสำรวจวิเคราะห์ข้อมูลทรัพยากรทางวัฒนธรรมรอบกว๊านพะเยา การกำหนดมาตรฐานเว็บไซต์ที่ทันสมัยและจำเป็นจนไปถึงการสร้างซอฟต์แวร์ที่มีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน ขั้นตอนวิธีของการศึกษาจำแนกเป็น 3 งาน ได้แก่ 1. การวิเคราะห์ข้อมูลทรัพยากรทางวัฒนธรรมเพื่อให้ได้โครงสร้างชั้นข้อมูลที่รองรับทุกข้อมูลทรัพยากรได้ 2. วิเคราะห์ หาคุณสมบัติให้แก่ระบบข้อมูลจากเว็บไซต์ที่ทันสมัยและจำเป็นจากแหล่งอ้างอิงที่น่าเชื่อถือ 3. นำผลการวิเคราะห์ มาพัฒนาระบบข้อมูลสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ผลจากการศึกษาพบว่ามีทรัพยากรทางวัฒนธรรมทั้งหมด 96 แหล่งซึ่งกระจายตัวอยู่เป็นกลุ่ม ๆ จำนวน 14 กลุ่ม และ มีเพียง 4 ประเภท นำไปสร้างชั้นข้อมูลได้ 9 ชั้นข้อมูล ระบบข้อมูลมี 4 ความสามารถสำคัญ และ มีลำดับการนำเสนอข้อมูลเพียง 4 หน้าจอ หากเปรียบเทียบกับเว็บไซต์อื่นพบว่า “อย่าง...แจ่ม” มีข้อมูลเป็นที่ต้องการของนักท่องเที่ยว หน้าจอมีความสวยงาม แต่ขาดกลไกด้านฐานข้อมูลอัตโนมัติจึงต้องอาศัยผู้ดูแลระบบปรับปรุงข้อมูล อีกทั้ง “www.otoptoday.com” มีลำดับในการเรียกดูข้อมูลกระชับแต่ขาด การเรียงตามลำดับความสำคัญ สำหรับ “โครงการ : จัดทำแผนแม่บทการพัฒนากว๊านพะเยาอย่างยั่งยืน” มีเนื้อหาปริมาณมาก แต่การนำเสนอด้อยกว่า “www.otoptoday.com” และ “สำนักงานเกษตรจังหวัดพะเยา” มีเนื้อหาครบถ้วนแต่การจัดวางตำแหน่งแสดงข้อมูลยังไม่เหมาะสม ทั้งนี้ระบบฯ นี้มีประสิทธิภาพกว่า 4 เว็บไซต์ดังกล่าวในด้านกลไกฐานข้อมูลอัตโนมัติ การลำดับนำเสนอข้อมูลที่เหมาะกับการนำไปใช้วางแผน และ รองรับการสืบค้นแบบเสรีได้ การศึกษาครั้งต่อไปควรสร้างเป็นระบบเฉพาะทางด้านการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ด้านหอสมุดวัฒนธรรมจังหวัดพะเยา หรือ ด้านพิพิธภัณฑ์ทรัพยากรจังหวัดพะเยา
