การศึกษาสารประกอบอินทรีย์ระเหยของวัสดุคอมโพสิตขึ้นรูปจากกล่องบรรจุภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบจากอะลูมิเนียมเติมด้วยพลาสติก

ผู้แต่ง

  • Walanrak Poomchalit Rajamangala University of Technology Thanyaburi
  • ชาณา ลีบำรุง
  • พลภัทร ทิพย์บุณศรี
  • ธรรมศักดิ์ โรจน์วิรุฬห์
  • ขจร สีทาแก

คำสำคัญ:

คุณภาพอากาศภายในอาคาร, สารประกอบอินทรีย์ระเหย, รีไซเคิล, แผ่นผนัง

บทคัดย่อ

บทความนี้เป็นการนำเสนอผลการศึกษาสารประกอบอินทรีย์ระเหยของวัสดุคอมโพสิต โดยใช้กระบวนการอัดขึ้นรูปด้วยความร้อน การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์หาสารระเหยที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพจากวัสดุรีไซเคิลสำหรับการพัฒนาเป็นวัสดุผนัง โดยมีสมมติฐานว่าวัสดุจะมีการปลดปล่อยสาระเหยที่เป็นอันตรายหลังจากการขึ้นรูปซ้ำ กระบวนการผลิตชิ้นทดสอบได้จากการนำกล่องบรรจุภัณฑ์ใช้แล้วและพลาสติกเหลือใช้มาบด และผสมกันในอัตราส่วนโดยน้ำหนัก 80:20 70:30 60:40 และ 50:50 จากนั้นนำมาวิเคราะห์ตามมาตรฐาน ISO 16000 ผลการตรวจสอบปรากฎว่าไม่พบสารประกอบอินทรีย์ระเหยภายหลังจากกระบวนการรีไซเคิล สามารถนำวัสดุต้นแบบไปพัฒนาต่อเป็นผลิตภัณฑ์สำหรับใช้งานในอาคารได้

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31.12.2024

ฉบับ

บท

เปิดรับบทความตีพิมพ์ในวารสารเทคโนโลยีการผลิตและการจัดการ