แผ่นคอมโพสิตสำหรับงานตกแต่งภายในอาคารจากขยะเทอร์โมพลาสติกรีไซเคิลเสริมแรงด้วยเศษสิ่งทอผ้าขาวม้า

ผู้แต่ง

  • จิรวัฒน์ ใจอู่
  • สิรภพ ราษฎร์ดุษดี
  • พลภัทร ทิพย์บุญศรี ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี https://orcid.org/0000-0002-9487-9559

คำสำคัญ:

แผ่นคอมโพสิต, เศษผ้าขาวม้า, ขยะเทอร์โมพลาสติก

บทคัดย่อ

การศึกษากระบวนการขึ้นรูปแผ่นคอมโพสิตสำหรับงานตกแต่งภายในอาคารจากขยะเทอร์โมพลาสติกรีไซเคิลเสริมแรงด้วยเศษสิ่งทอผ้าขาวม้า เป็นการนำแผ่นฟิล์มพลาสติกทั้งหมด 4 ชนิดได้แก่ HDPE (High density polyethylene) LDPE (Low density polyethylene) PP (Polypropylene) และ PLA (Polylactic acid) ที่ใช้เป็นบรรจุภัณฑ์มาทดลองอัดขึ้นรูปโดยมีแผ่นผ้าขาวม้าทำหน้าที่เป็นวัสดุเสริมแรง ในการทดลองจะใช้ผ้าขาวม้าจำนวน 3, 5, 7 และ 9 ผืน โดยทำการจัดเรียงชั้นกับแผ่นฟิล์มพลาสติก นอกจากนี้ผ้าขาวม้ากับเทอร์โมพลาสติกถูกอัดขึ้นรูปในอัตราส่วน 50:50, 40:60 และ 30:70 ขึ้นรูปที่ความดัน 10.34 Bar ที่อุณหภูมิ 200  ํC ใช้ระยะเวลาในการอัดขึ้นรูปร้อนเป็นเวลา 10 minutes แผ่นคอมโพสิตมีขนาด 300 x 300 mm จากนั้นนำชิ้นงานที่ทำการอัดขึ้นรูปร้อนแล้วมาทำการทดสอบสมบัติแรงดึง (Tensile test) และทำการตรวจสอบโครงสร้างจุลภาค (Microstructure) จากผลการทดลองพบว่า จำนวนชั้นของผ้าขาวม้าที่เพิ่มขึ้นส่งผลให้สมบัติแรงเพิ่มขึ้นตาม และปริมาณของแผ่นฟิล์มพลาสติกที่เพิ่มส่งผลให้สมบัติแรงดึงลดลง ดังนั้นการใช้จำนวนชั้นของผ้าขาวม้าสูงสุดที่ 9 ชั้น และอัตราส่วนของผ้าขาวม้ากับเทอร์โมพลาสติกในอัตราส่วน 50:50 มีสมบัติแรงดึงสูงสุด ในส่วนของชนิดพลาสติกทั้ง 4 ชนิด แผ่นฟิล์มพลาสติก PP มีค่าแรงดึงสูงสุด (Tensile strength) คือ 62.96 MPa และมีค่ามอดูลัสแรงดึงคือ 1367.4 MPa นอกจากนี้ภาพทางสัณฐานวิทยายังช่วยยืนยันเหตุผลถึงการเพิ่มขึ้นและลดลงของสมบัติทางกล

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31.12.2024

ฉบับ

บท

เปิดรับบทความตีพิมพ์ในวารสารเทคโนโลยีการผลิตและการจัดการ