การเลือกการจัดการห่วงโซ่อุปทานที่ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมสำหรับวิสาหกิจชุมชน กลุ่มผู้ปลูกไผ่โดยใช้วิธีเรียงลำดับแบบอุดมคติ TOPSIS
คำสำคัญ:
การจัดการห่วงโซ่อุปทาน, ไผ่, เทคนิคเดลฟาย, เทคนิคเรียงลำดับตามอดุมคติบทคัดย่อ
กระบวนการตัดสินใจในการเลือกการจัดการห่วงโซ่อุปทานที่ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมสำหรับวิสาหกิจชุมชนกลุ่มผู้ปลูกไผ่เป็นปัญหาที่มีความซับซ้อนยากต่อการตัดสินใจเพราะว่ามีหลายปัจจัยที่ต้องพิจารณาไปพร้อม ๆ กัน ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงได้นําเสนอเทคนิคเดลฟาย และเทคนิคเรียงลำดับตามอดุมคติ ในการประเมินและจัดลำดับความสำคัญของการเลือกการจัดการห่วงโซ่อุปทานที่ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เริ่มจากการการประยุกต์ใช้เทคนิคเดลฟายสำหรับเลือกการจัดการห่วงโซ่อุปทานที่ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม 21 ปัจจัย ผลการเลือกลำดับความสำคัญด้วยเทคนิคเดลฟายถูกคัดเลือกเหลือ 13 ปัจจัย ขั้นตอนที่สองวิเคราะห์ด้วยเครื่องมือเรียงลำดับตามอดุมคติ เริ่มจากการปรับสเกลของตารางเมตริกซ์การทำการตัดสินใจ จากนั้นทำการวิเคราะห์ตารางเมตริกซ์การทำการตัดสินใจแบบปรับสเกลที่ถ่วงน้ำหนัก โดยใช้ข้อมูลของค่าน้ำหนักปัจจัยจากการจัดการห่วงโซ่อุปทานที่ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากวิธีการเทคนิคเดลฟาย แล้วนำผลที่ได้มาคำนวณค่าอุดมคติเชิงบวก (Positive Ideal Solution :PIS) และค่าอุดมคติเชิงลบ (Negative Ideal Solution : NIS) เพื่อคำนวณค่าตัววัดการแยกจากคำตอบในอุดมคติทางบวก (Si*) และค่าตัววัดการแยกจากคำตอบในอุดมคติทางลบ (Si’) รวมถึงค่าความใกล้ชิดสัมพัทธ์ (Ci*) สำหรับแต่ละปัจจัยการจัดการห่วงโซ่อุปทานที่ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ตามลำดับ โดยพบว่าทางเลือกที่ดีที่สุดคือ A4 (IEM7) มีระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม A7 (CC1) ความร่วมมือกับลูกค้าในการออกแบบเพื่อสิ่งแวดล้อม A1 (IEM1) ความมุ่งมั่นของ GSCM จากผู้จัดการอาวุโส และ A3 (IEM4) การจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมโดยรวม ตามลำดับ
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการเผยแพร่ในวารสารเทคโนโลยีการผลิตและการจัดการนี้ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารเทคโนโลยีการ ผลิตและการจัดการหากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็น ลายลักษณ์อักษรจากวารสารเทคโนโลยีการผลิตและการจัดการก่อนเท่านั้น