การศึกษาความหยาบผิวที่มีผลต่อสมบัติทางไตรโบรโลยี ของโพลิออกซิเมทิลีนที่ผ่านกระบวนการกลึง

ผู้แต่ง

  • ธีรยุทธ กาญจนแสงทอง
  • รัตติกรณ์ เสาร์แดน
  • มงคล กาสีวงค์
  • วิโรจน์ ฉัตรเกษ -

คำสำคัญ:

กลึงปาดผิว, โพลิออกซิเมทิลีน, ความหยาบผิว, การสึกหรอ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มุ่งเน้นไปที่การศึกษาความหยาบผิวที่มีผลต่อสมบัติทางไตรโบโลยีของชิ้นส่วนโพลิออกซิเมทิลีนที่ผ่านกระบวนการกลึงขึ้นรูป เพื่อประยุกต์ใช้ในการผลิตชิ้นส่วนประกอบของเครื่องจักรในอุตสาหกรรมการแปรรูปอาหารและเบเกอรี่ ทำการวัดความหยาบผิวของชิ้นทดสอบ วิเคราะห์พื้นผิวรอยกลึงปาดผิว และทดสอบการสึกหรอด้วยเครื่องบล็อกออนริงภายใต้สภาวะแห้ง ผลจากการวิจัยพบว่า ค่าพารามิเตอร์ที่เหมาะสมในการกลึงปาดผิวอยู่ที่ความเร็วตัด 255 เมตร/นาที อัตราป้อน 0.08 มิลลิเมตร/รอบ และระยะป้อนลึก 0.4 มิลลิเมตร มีค่าความหยาบผิวต่ำที่สุด เมื่อเพิ่มอัตราป้อนขึ้น พบว่ารอยกลึงปาดผิวบนผิวชิ้นทดสอบคล้ายกับก้นหอย นอกจากนี้ ความหยาบผิวของชิ้นทดสอบมีผลอย่างมากต่อพื้นผิวคู่สัมผัส ส่งผลต่อแรงเสียดทานที่สะสมบนผิวสัมผัส ทำให้วัสดุโพลิออกซิเมทิลีนเกิดการยืดออกและการถ่ายโอนฟิล์มบาง ๆ ของพอลิเมอร์ลงบนผิวล้อวงแหวนเหล็ก อย่างไรก็ตาม การเพิ่มภาระแรงกระทำที่ใช้จะเพิ่มการสูญเสียน้ำหนักและอัตราการสึกหรอ

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30.06.2024

ฉบับ

บท

เปิดรับบทความตีพิมพ์ในวารสารเทคโนโลยีการผลิตและการจัดการ