ผลของความเร็วในการเชื่อม CMT ที่มีต่อสมบัติทางกลและความสามารถในการขึ้นรูปของอะลูมิเนียมผสม AA5052
คำสำคัญ:
โลหะแผ่น, ความสามารถในการขึ้นรูป, อลูมิเนียมผสม, การเชื่อม CMT, การทดสอบการขึ้นรูปถ้วยด้วยวิธีอิริคสันบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบและประเมินผลกระทบของความเร็วในการเชื่อม CMT (Cold Metal Transfer Welding) ที่ส่งผลกระทบต่อความต้านทานแรงดึงและความสามารถในการขึ้นรูปของอะลูมิเนียมผสมเกรด AA5052 ซึ่งเป็นวัสดุที่ใช้งานอย่างแพร่หลายในอุตสาหกรรมการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ เนื่องจากมีความแข็งแรงและมีน้ำหนักเบา การเชื่อมที่เหมาะสมดำเนินการประเมินและวิเคราะห์ผลจากผลการทดสอบความต้านทานแรงดึงและความสามารถในการขึ้นรูปด้วยวิธีอิริคสัน ผลการทดลองพบว่า ความเสียหายที่เกิดกับตัวอย่างที่ผ่านการเชื่อมด้วยที่ความเร็วแตกต่างกันไม่ขึ้นอยู่กับสมบัติทางกลของแผ่นโลหะ อย่างไรก็ตามชิ้นงานที่ผ่านการเชื่อมโดยใช้ความเร็วต่ำจะมีความต้านทานแรงดึงที่ดีกว่าความเร็วสูง นอกจากนี้ผลการขึ้นรูปด้วยวิธีอิริคสันพบว่าชิ้นงานที่ผ่านการเชื่อมต่อโดยใช้ความเร็วต่ำมีค่าความสามารถในการขึ้นรูปสูงกว่าอย่างเห็นได้ชัด เนื่องจากสามารถขึ้นรูปด้วยความลึกที่สูงกว่าก่อนเกิดการแตกหัก เงื่อนไขการเชื่อมโดยใช้ความเร็วต่ำการแตกหักเสียหายเริ่มเกิดขึ้นกับแผ่นพื้นด้านข้างของแนวเชื่อมและแตกแบบขวางแนวเชื่อมร่วมกัน ในทางตรงกันข้ามเมื่อเชื่อมด้วยความเร็วสูงการแตกหักเสียหายของชิ้นงานเกิดขึ้นกับตำแหน่งกึ่งกลางแนวเชื่อมและรอยแตกมีทิศทางขนานไปกับแนวเชื่อม
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการเผยแพร่ในวารสารเทคโนโลยีการผลิตและการจัดการนี้ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารเทคโนโลยีการ ผลิตและการจัดการหากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็น ลายลักษณ์อักษรจากวารสารเทคโนโลยีการผลิตและการจัดการก่อนเท่านั้น