อิทธิพลของปัจจัยสําหรับการเชื่อมเสียดทานแบบกวนอะลูมิเนียมผสม AA5083 กับ AA6061 โดยมีวัสดุเสริมแรงในแนวเชื่อม
คำสำคัญ:
การเชื่อมเสียดทานแบบกวน , อนุภาคสารเสริมแรง, ค่าความต้านทานแรงดึงบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาอิทธิพลของปัจจัยสำหรับการเติมอนุภาคสารเสริมแรงซิลิคอนคาร์ไบด์ในแนวเชื่อมของการเชื่อมเสียดทานแบบกวนอะลูมิเนียมผสมแมกนีเชียมเกรด AA5083 กับอะลูมิเนียมผสมแมกนีเชียม-ซิลิกอนเกรด AA6061 เพื่อเป็นแนวทางเพิ่มสมบัติความต้านทานแรงดึงในแนวเชื่อม กำหนดปัจจัยแปรผันคือความเร็วรอบเครื่องมือกวนผสมแนวเชื่อม 800, 1,000 รอบต่อนาที และความเร็วเดินเชื่อม 15, 30 มิลลิเมตรต่อนาที ผลการวิเคราะห์ทางสถิติ พบว่าปัจจัยความเร็วรอบเครื่องมือกวนผสมแนวเชื่อม และปัจจัยความเร็วเดินเชื่อม มีอิทธิพลต่อค่าความต้านทานแรงดึง อย่างมีนัยสำคัญที่ 0.05 โดยที่ปัจจัยความเร็วรอบเครื่องมือกวนผสมแนวเชื่อม มีอิทธิพลต่อค่าความต้านทานแรงดึงของชิ้นงานสูงที่สุด รองลงมาคือปัจจัยความเร็วเดินเชื่อม โดยเมื่อเพิ่มปัจจัยความเร็วรอบเครื่องมือกวนผสมแนวเชื่อมสูงขึ้นจะส่งผลต่อค่าความต้านทานแรงดึงของชิ้นงานที่สูงขึ้นตาม ขณะที่เมื่อลดปัจจัยความเร็วเดินเชื่อมลงจะส่งผลต่อค่าความต้านทานแรงดึงของชิ้นงานที่สูงขึ้น ระดับปัจจัยที่ส่งผลค่าความต้านทานแรงดึงของชิ้นงานดีที่สุดของการทดลองนี้ คือความเร็วรอบเครื่องมือกวนผสมแนวเชื่อม 1,000 รอบต่อนาที ความเร็วเดินเชื่อม 15 มิลลิเมตรต่อนาที มีค่าความต้านทานแรงดึงสูงที่สุดคือ 211.63 MPa
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการเผยแพร่ในวารสารเทคโนโลยีการผลิตและการจัดการนี้ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารเทคโนโลยีการ ผลิตและการจัดการหากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็น ลายลักษณ์อักษรจากวารสารเทคโนโลยีการผลิตและการจัดการก่อนเท่านั้น