การศึกษาพฤติกรรมการแตกร้าว ณ ขอบรูเจาะต่อความไว ในการทดสอบด้วยวิธีกระแสไหลวนสำหรับงานซ่อมบำรุงชิ้นส่วนเครื่องจักรกล
คำสำคัญ:
รอยแตกร้าวรอยเชื่อม , กระแสไหลวน , ความลึกรอยแตกร้าว , ความเค้นตกค้างบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบของรอยแตกร้าวรอยเชื่อม ณ ขอบรูเจาะต่อความสามารถในการทดสอบด้วยวิธีกระแสไหลวนสำหรับงานซ่อมบำรุงชิ้นส่วนเครื่องจักรกล โดยการสร้างรอยแตกร้าวบนรอยเชื่อมบริเวณขอบรูเจาะชิ้นส่วนประกอบของเครื่องจักรกลที่ผลิตจากเหล็กกล้าเครื่องมือ เกรด SKD11 ซึ่งทำการทดลองด้วยกระบวนการเชื่อมอาร์คทังสเตนแก๊สปกคลุม (Tungsten Inert Gas welding : TIG) ในลักษณะการเชื่อมจุดพร้อมกับชุดจำลองความเค้นตกค้าง (U-Bending Type) ซึ่งพิจารณาจากปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อพฤติกรรมการแตกร้าวในรอยเชื่อม คือ ระดับความเค้นตกค้าง 154 และ 220 เมกะปาสคาล และเวลาเชื่อม 3 และ 6 วินาที จากนั้นทำการตรวจสอบรอยแตกร้าวรอยเชื่อมด้วยสารแทรกซึมและวิธีกระแสไหลวน ผลการทดลองพบว่ารอยแตกร้าวเกิดขึ้นทุกสภาวะการเชื่อมจากการแสดงผลการตรวจสอบด้วยสารแทรกซึมอย่างชัดเจน ความลึกรอยแตกร้าวรอยเชื่อมถูกประเมินผลด้วยการตรวจสอบด้วยวิธีกระแสไหลวนมีค่าแนวโน้มที่สูงขึ้นเท่ากับ 1.08 มม. เมื่อใช้ระดับความเค้นตกค้าง 220 เมกะปาสคาล และเวลาเชื่อม 6 วินาที ซึ่งตรวจพบลักษณะสัญญาณแอมพลิจูดมีความใกล้เคียงกับสัญญาณจากแท่งมาตรฐานอ้างอิงของร่องความลึกรอยบกพร่องต้นแบบ (Reference Standard Block) ของชิ้นงานเชื่อม
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการเผยแพร่ในวารสารเทคโนโลยีการผลิตและการจัดการนี้ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารเทคโนโลยีการ ผลิตและการจัดการหากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็น ลายลักษณ์อักษรจากวารสารเทคโนโลยีการผลิตและการจัดการก่อนเท่านั้น