อิทธิพลของปัจจัยทางกระแสไฟฟ้าในการเจาะรูของรอยเชื่อม เหล็กกล้าเครื่องมือ เกรด JIS SKD61ด้วยกระบวนการกัดเซาะด้วยไฟฟ้า

ผู้แต่ง

  • สมชาย วนไทยสงค์ -
  • รัตติกรณ์ เสาร์แดน
  • เอนก สุทธิฤทธิ์
  • รอยต่อ เจริญสินโอฬาร
  • พิชัย จันทร์มณี

คำสำคัญ:

เหล็กกล้าเครื่องมือ เกรด JIS SKD61, อัตราการขจัดเนื้องาน, อัตราการสึกหรอของอิเล็กโทรด, ความหยาบผิว

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพการเจาะรูด้วยกระบวนการกัดเซาะด้วยไฟฟ้า (EDM) ของวัสดุเหล็กกล้าเครื่องมือ เกรด JIS SKD61 ซึ่งผ่านกระบวนการเชื่อมซ่อมด้วยการเชื่อมไฟฟ้า (SMAW) และการเชื่อมอาร์กโลหะด้วยแก๊ส (GMAW) โดยใช้อิเล็กโทรดสำหรับสปาร์คที่แตกต่างกันสองประเภท ได้แก่ ทองเหลือง และทองแดง ด้วยการปรับตั้งค่าปัจจัยหลักทางกระแสไฟฟ้า 3 ระดับ คือ 2.5, 3 และ 3.5 แอมแปร์ ตามลำดับ จากนั้นประเมินผลประสิทธิภาพการทำงานในรูปของอัตราการขจัดเนื้องาน (MRR), อัตราการสึกหรอของอิเล็กโทรด (EWR), ความหยาบผิว (Ra), และลักษณะรูเจาะเข้า-ออก ตามลำดับ ผลการทดลองพบว่ารูเจาะของรอยเชื่อม SMAW ที่ถูกสปาร์คด้วยอิเล็กโทรดทองเหลือง, กระแสไฟฟ้า 3 แอมแปร์ มีอัตราการขจัดเนื้องานสูงสุด 21.458 มม.2/นาที และอัตราการสึกหรอของอิเล็กโทรด 82.1% ความหยาบผิวเฉลี่ย (Ra) ต่ำสุดของรอยเชื่อม SMAW ที่ถูกสปาร์คด้วยอิเล็กโทรดทองแดง, กระแสไฟฟ้า 3 แอมแปร์ มีค่าเท่ากับ 1.9457 ไมโครมิเตอร์ ลักษณะรูเจาะของรอยเชื่อม SMAW และ GMAW มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางรูเข้ามากกว่า 1 มม. และมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางรูออกน้อยกว่า 1 มม. จากการใช้อิเล็กโทรดทั้งสองประเภทและทั้งหมดของการปรับตั้งค่ากระแสไฟฟ้า

Downloads

เผยแพร่แล้ว

28.06.2023

ฉบับ

บท

เปิดรับบทความตีพิมพ์ในวารสารเทคโนโลยีการผลิตและการจัดการ