การวิเคราะห์อิทธิพลของการหล่อเย็นที่มีผลต่อการหดตัวของชิ้นงานฉีดพลาสติก
คำสำคัญ:
การหล่อเย็น, การหดตัวพลาสติก, งานฉีดพลาสติกบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของการหล่อเย็นที่มีผลต่อการหดตัวของชิ้นงานฉีดพลาสติกชนิด พอลีโพรพิลีน เกรด PP1100NK โดยใช้โปรแกรม Cadmould ในการวิเคราะห์ และเป็นเครื่องมือในการศึกษาปัจจัยต่างๆ ของการหล่อเย็นที่มีผลกระทบต่อการหดตัวของชิ้นงาน โดยชิ้นงานที่ใช้ในการทดลองมีความหนา 1.5 mm. ใช้น้ำในการหล่อเย็น เส้นผ่านศูนย์กลางของรูหล่อเย็น กรณีที่ 1 กรณีที่ 2 และกรณีที่ 3 ใช้ขนาด 6 mm. ตำแหน่งระยะห่างรูหล่อเย็นกับผิวชิ้นงานทั้ง 3 กรณี ใช้เท่ากับ 12 mm. ระยะห่างระหว่างรูหล่อทั้ง 3 กรณี ใช้เท่ากับ 30 mm. ในกรณีที่ 1 มีการหล่อเย็นที่ Core และ Cavity กรณีที่ 2 หล่อเย็นเฉพาะ Cavity และกรณีที่ 3 หล่อเย็นเฉพาะ Core ผลจากการวิเคราะห์ด้วยโปรแกรม Cadmould พบว่าการออกแบบระบบหล่อเย็นของแม่พิมพ์ที่ถูกต้องตามกรณีที่ 1 มีค่าเปอร์เซ็นต์การหดตัว (Shrinkage) ของชิ้นงานน้อยที่สุด คือ 2.056 % และเมื่อนำข้อมูลดังกล่าวไปทดสอบการฉีดจริงด้วยแม่พิมพ์ฉีดพลาสติก พบว่าได้ผลสำเร็จสอดคล้องตามการพยากรณ์ คือค่าเปอร์เซ็นต์การหดตัวของชิ้นงานทดสอบตามทิศทางการไหล (แกน Y) เท่ากับ 0.89 % และ 1.45 % ค่าเปอร์เซ็นต์การหดตัวของพลาสติกตามทิศทางขวางการไหล (แกน x) เท่ากับ 2.29 % และ 1.83 % และขนาดพิกัดความเผื่อชิ้นงานที่วัดได้ เป็นไปตามที่ออกแบบไว้สามารถนำไปใช้งานได้
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการเผยแพร่ในวารสารเทคโนโลยีการผลิตและการจัดการนี้ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารเทคโนโลยีการ ผลิตและการจัดการหากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็น ลายลักษณ์อักษรจากวารสารเทคโนโลยีการผลิตและการจัดการก่อนเท่านั้น