สาเหตุของความเสียหายและแนวทางการแก้ปัญหาสําหรับสกรูลำเลียงในการขนถ่าย ตะกอนเปียกพอลิเมอร์ในอุตสาหกรรมปิโตรเคมี
คำสำคัญ:
ความล้า, สกรูลำเลียง, ตะกอนเปียก, ปิโตรเคมีบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาสาเหตุความเสียหายและแนวทางการแก้ปัญหาสกรูลำเลียงในกระบวนการขนถ่ายตะกอนเปียกของพอลิเมอร์ในอุตสาหกรรมปิโตรเคมี การศึกษาใช้เทคนิคทางโลหวิทยาและระเบียบวิธีไฟไนต์เอเลเมนต์ ชุดสกรูลำเลียงทำจากเหล็กกล้าไร้สนิมเกรด SUS304 (JIS) จากการทดสอบความแข็งและหาค่าส่วนผสมทางเคมีพบว่าวัสดุดังกล่าวมีค่าเป็นไปตามมาตรฐานกำหนด ความเสียหายของสกรูลำเลียงเกิดที่เพลาสกรูซึ่งทำจากท่อขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 318.5 mm หนา 17.4 mm มีความยาว 6000 mm 2 ชิ้น เชื่อมต่อกันด้วยสลีฟเพื่อให้ได้ความยาวรวมเท่ากับ 12000 mm จากการวิเคราะห์ด้วยระเบียบวิธีไฟไนต์เอเลเมนต์พบความเค้นสูงสุดเกิดขึ้นที่บริเวณจุดเชื่อมต่อเนื่องจากบริเวณดังกล่าวมีการตัดปาดเนื้อวัสดุด้วยกระบวนการกลึงเพื่อใช้ในการสวมอัดกับสลีฟ ผลวิเคราะห์ดังกล่าวสอดคล้องกับการตรวจสอบโดยพบรอยแตกในเนื้อวัสดุ ณ บริเวณดังกล่าว การใช้เพลาสกรูชิ้นเดียวช่วยลดความเค้นสูงสุดที่เกิดขึ้นกับบริเวณจุดเชื่อมต่อได้มากกว่าร้อยละ 61
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการเผยแพร่ในวารสารเทคโนโลยีการผลิตและการจัดการนี้ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารเทคโนโลยีการ ผลิตและการจัดการหากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็น ลายลักษณ์อักษรจากวารสารเทคโนโลยีการผลิตและการจัดการก่อนเท่านั้น