บทความวิจัย

การทดสอบหาสมบัติทางไฟฟ้าของวัสดุชิ้นส่วนประกอบเครื่องบินด้วยวิธีกระแสไหลวน

ผู้แต่ง

  • ฤทธิชัย เภาเนียม
  • สมชาย วนไทยสงค์ -
  • จักรพันธุ์ ชาระ

คำสำคัญ:

สอบเทียบมาตรฐาน, การตรวจสอบด้วยวิธีกระแสไหลวน, สัญญาณอิมพีแดนซ์, ความต้านทานไฟฟ้า, การนำไฟฟ้า

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบสมบัติทางไฟฟ้าของวัสดุสำหรับใช้สอบเทียบมาตรฐาน (Reference standard) ในงานตรวจสอบด้วยวิธีกระแสไหลวนสำหรับชิ้นส่วนประกอบเครื่องบิน ซึ่งสามารถบ่งบอกและแยกแยะกลุ่มของวัสดุได้อย่างชัดเจนจากลักษณะสัญญาณอิมพีแดนซ์ที่ปรากฏ โดยทำการศึกษาจากวัสดุสอบเทียบมาตรฐานแต่ละประเภทและวัสดุตัวอย่างของชิ้นส่วนประกอบเครื่องบิน และดำเนินการตรวจสอบด้วยวิธีกระแสไหลวน (Eddy-Current Testing) เพื่อศึกษาลักษณะและการเปลี่ยนแปลงของเส้นสัญญาณอิมพีแดนซ์ (Impedance signal) ผลการทดลองพบว่าสัญญาณอิมพีแดนซ์ของวัสดุตัวอย่างชนิดต่างๆ สามารถระบุประเภทของวัสดุได้ 2 กลุ่ม คือ Ferromagnetic และ Non-Ferromagnetic จากสัญญาณที่ปรากฏบนหน้าจอแสดงผลที่ถูกกำหนดอย่างชัดเจน สำหรับวัสดุชิ้นส่วนประกอบเครื่องบินมีลักษณะเส้นสัญญาณอิมพีแดนซ์ใกล้เคียงเส้นสัญญาณของวัสดุสอบเทียบมาตรฐาน และผลการตรวจสอบสมบัติทางไฟฟ้าของวัสดุสอบเทียบมาตรฐาน (Reference Standard) และชิ้นส่วนประกอบเครื่องบิน (Aircraft components) จากการแปลงสัญญาณอิมพีแดนซ์พบว่าวัสดุประเภทอลูมิเนียมมีค่าความต้านไฟฟ้าระหว่าง 2.3-35.2 µΩ.cm. และค่าการนำไฟฟ้าระหว่าง 4.90 - 53.90 IACS% วัสดุไทเทเนียมมีค่าระหว่าง 112.8-177 µΩ.cm. และการนำไฟฟ้ามีค่าระหว่าง 0.97-1.53 IACS% ซึ่งสมบัติทางไฟฟ้าของวัสดุทั้ง 2 ประเภท มีความสอดคล้องตามสมบัติเฉพาะของวัดุที่ทำการศึกษา

Downloads

เผยแพร่แล้ว

27.12.2023

ฉบับ

บท

เปิดรับบทความตีพิมพ์ในวารสารเทคโนโลยีการผลิตและการจัดการ