อุตสาหกรรมปิโตรเคมี

Main Article Content

รศ.ดร.เกษม ปราบริปูคลุง

Abstract

โดยสรุปแล้วโครงการอุตสาหกรรมปิโตรเคมี  โดยเฉพาะส่วน Upstream ของบริษัท ปิโตรเคมีแห่งชาติ จำกัด เป็นโครงการซึ่งจะเชื่อมการใช้ประโยชน์ก๊าซธรรมชาติจากการอ่าวไทยกับอุตสาหกรรมปิโตรเคมีหรืออุตสาหกรรมพลาสติกของไทยให้สมบูรณ์และสามารถพึ่งพาตนเองได้  (ดูแผนภูมิที่ 2)  การตัดสินใจดำเนินการโครงการนี้ จะเสมือนหนึ่งการปูพื้นฐานสำหรับการขยายอุตสาหกรรมปิโตรเคมีของประเทศให้สมบูรณ์ อย่างน้อยก็ตามแผนภูมิที่ 1 จริงอยู่อุตสาหกรรมปิโตรเคมี เป็นอุตสาหกรรมซึ่งใช้วิทยาการชั้นสูงใช้เงินลงทุนมาก จ้างแรงงานน้อย ซึ่งดูแล้วคล้าย ๆ กับไม่เหมาะกับประเทศไทย แต่ถ้าดูให้ลึก ๆ  แล้วการจ้างแรงงานโดยตรงอาจจะน้อยจริง แค่แรงงานทางอ้อมซึ่งบริษัทที่ซื้อเม็ดพลาสติกไปทำผลิตภัณฑ์พลาสติกจะมีจำนวนมากทั้งนี้ยังไม่ได้รวมแรงงานที่ต้องการหลายหมื่นคนในระหว่างการก่อสร้าง และอุตสาหกรรมบริการซึ่งจะต้องเกิดขึ้นอีกเป็นจำนวนมาก ความเป็นไปได้ของโครงการเชิงเศรษฐกิจก็น่าจะมั่นใจได้จากผลการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการถึง 3 ครั้ง  และประการสำคัญ บริษัทเหล่านี้เป็นบริษัทเอกชน แม้บริษัทปิโตรเคมีแห่งชาติ จำกัด จะมีรัฐวิสาหกิจถือหุ้นอยู่ แต่ก็มีบริษัทเอกชนลงทุนอยู่ด้วยไม่น้อย การจะทำโครงการใดในภาคเอกชน โดยเฉพาะโครงการใหม่ ไ เช่นนี้ ถ้าเขามองไม่เห็นกำไร หรืออัตราเสี่ยงสูงเกินไปเขาก็คงไม่ทำ อุตสาหกรรมปิโตรเคมีสำหรับเมืองไทยนั้น เคยมีผู้จะจัดตั้งตั้งแต่ปี 2515-2516  แต่สู้แรงต้านจากพวกอนุรักษ์ธรรมชาติไม่ได้ ผู้ลงทุนเลยต้องย้ายไปตั้งที่ประเทศสิงคโปร์และประเทศเกาหลี ปัจจุบันคนไทยได้แต่อิจฉาความก้าวหน้าทางด้านอุตสาหกรรมของประเทศสิงคโปร์และประเทศเกาหลี ผู้เขียนจึงได้แต่เพียงภวานาว่า  ความพยายามจัดตั้งอุตสาหกรรมปิโตรเคมีของไทยคราวนี้คงจะสำเร็จ  รวมถึงโครงการพัฒนาอุตสาหกรรมหลักในบริเวณฝั่งทะเลภาคตะวันออกด้วย เพราะโครงการนี้จะเป็นก้าวสำคัญในความพยายามที่จะพัฒนาประเทศไปสู่ความเป็นประเทศอุตสาหกรรม.

Article Details

How to Cite
ปราบริปูคลุง ร. (2013). อุตสาหกรรมปิโตรเคมี. Engineering and Applied Science Research, 12(2), 99–107. Retrieved from https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/easr/article/view/8284
Section
ORIGINAL RESEARCH