เทอร์มิสเตอร์ตัวป้องกันมอเตอร์ไหม้

Main Article Content

วันชัย ธนาเศรษฐอังกูล

Abstract

จากทั้งหมดที่ได้กล่าวมาแล้วนี้สามารถที่จะสรุปได้ว่าการใช้เทอร์มิสเตอร์ป้องปันมอเตอร์ไหม้นั้น มันเป็นระบบที่มีส่วนดีกว่าระบบอื่นเช่น ระบบการป้องกันที่ใช้ bimetal ซึ่งมันไม่สามารถทำงานได้ผลโดยเฉพาะในกรณีที่มอเตอร์ถูกใช้งานไม่สม่ำเสมอคือถูกเปิด ๆ ปิด ๆ มีไฟฟ้าที่จ่ายจากแหล่งจ่ายไฟไม่ครบยก ใช้ในที่ ๆ มีอุณหภูมิของสภาพแวดล้อมสูงเกินความเหมาะสม แรงดันไฟฟ้าในสายสูงเกินไปหรือต่ำเกินไป และระบบการระบายความร้อนไม่ดี นอกจากในกรณีต่าง ๆ นี้แล้ว วงจรวัดตรวจสอบที่ใช้เทอร์มิสเตอร์นี้สามารถใช้กับมอเตอร์ขนาดใดก็ได้ และมันยังสามารถควบคุมไม่ให้ใช้งานมอเตอร์ได้ถ้าสายไฟฟ้าที่ใช้ในวงจรวัดตรวจสอบเกิดขาดหรือชำรุด และวงจรวัดตรวจสอบนี้ยังนำไปประยุกต์ใช้กับอุปกณ์อื่น ๆ ได้ เช่น หม้อแปลงไฟฟ้า ตลับลูกปืน (bearings)  และระบบทำความร้อนเป็นต้น

ด้วยเหตุที่การทำงานของเทอร์มิสเตอร์ในระบบป้องกันนั้นขึ้นอยู่กับปริมาณความร้อนที่ถ่านเทโดยการนำจากขดลวดมายังตัวเทอร์มิสเตอร์ และในการถ่ายเทความร้อนโดยการนำนี้ทำได้ดีมากน้อยแค่ไหนขึ้นอยู่กับฉนวนที่หุ้มขดลวดนั้นอยู่  ดังนั้นระบบการป้องกันนี้จึงใช้ได้กับมอเตอร์ไฟฟ้าที่ใช้กับระบบไฟฟ้าที่มีแรงดันไฟฟ้ามีค่าต่ำ คือใช้ได้ในระบบไฟฟ้าที่มีแรงดันระหว่างสายเท่ากับ 220  หรือ 380  โวลท์ดังเช่นในระบบการจ่ายกำลังไฟฟ้าของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคหรือของการไฟฟ้านครหลวง เป็นต้น  นอกจากนี้แล้วในมอเตอร์บางชนิดที่เรียกว่ามอเตอร์แบบ Critical rotors เช่นพวก roller-table motor, textile machine motors เป็นต้น ถ้าการใช้งานเป็นแบบเปิดๆ ปิด ๆ จะใช้ระบบป้องกันมอเตอร์ไหม้ของเทอร์มิสเตอร์อย่างเดียวไม่ได้ จำเป็นต้องใช้ร่วมกับพวกไกตัดตอนชนิดใช้ความร้อนร่วมด้วย การป้องกันจึงจะได้ผลดี

Article Details

How to Cite
ธนาเศรษฐอังกูล ว. (2013). เทอร์มิสเตอร์ตัวป้องกันมอเตอร์ไหม้. Engineering and Applied Science Research, 5(1), 35–46. Retrieved from https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/easr/article/view/8196
Section
ORIGINAL RESEARCH