การชลประทานแบบหยดน้ำ (Drip Irrigation)

Main Article Content

ไมตรี จวงพานิช

Abstract

สำหรับในประเทศไทยโดยเฉพาะภาคตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งมีปัญหาการขาดแคลนน้ำและปัญหาน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดเล็ก หรือน้ำใต้ดินเค็มนั้น การให้น้ำแบบหยดน้ำนี้น่าจะแก้ปัญหาได้อย่างมากหากมีการประยุกต์ ระบบการส่งน้ำที่เหมาะสมโดยพิจารณาถึงค่าใช้จ่ายเป็นสำคัญ การจะใช้ส่วนปล่อยน้ำที่มีจำหน่วยในต่างประเทศอาจได้ผลตอบแทนที่ไม่คุ้มค่า ซึ่งอาจจะหาวัสดุในท้องถิ่นที่มีราคาถูกและหาได้ง่านมาปรับปรุงแทนได้ เช่น ลำไม้ไผ่ หรือดินเผาที่ผสมวัสดุบางอย่างให้มีรุพรุนที่มีขนาดเหมาะสมกับแรงดันน้ำในท่อประธาน เป็นต้น

ในกรณีของสวนผลไม้ทั่ว ๆ ไป โดยเฉพาะทุเรียนซึ่งมีความจำเป็นต้องรดน้ำเกือบทุกวันในฤดูแล้ง ผู้เขียนคิดว่าการชลประทานแบบหยดน้ำนี้ จะมีส่วนช่วยให้ชาวสวนทั้งหลายในด้านแรงงานและค่าใช้จ่ายได้มาก และอาจจะทำให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพและปริมาณเพิ่มขึ้น

Article Details

How to Cite
จวงพานิช ไ. (2013). การชลประทานแบบหยดน้ำ (Drip Irrigation). Engineering and Applied Science Research, 5(1), 1–7. Retrieved from https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/easr/article/view/8193
Section
ORIGINAL RESEARCH