ผลกระทบจากการสร้างฝายน้ำล้นของนักศึกษา คณะวิศวกรรมศาสตร์ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

Main Article Content

ผศ.ประเสริฐ ดำรงชัย

Abstract

บทความนี้เป็นผลจากความต้องการทราบถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการสร้างฝายน้ำล้นขนาดเล็ก ซึ่งนักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้เริ่มโครงการจัดหาน้ำ-บริโภคสำหรับชนบทในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2515  เริ่มแรกทำฝานน้ำล้นคอนกรีตเสริมเหล็กแบบหล่อคอนกรีตทับฝายดินลาดเอียงทั้งสองด้าน ต่อมาได้เปลี่ยนเป็นการเจาะบ่อบาดาล และท้ายสุดได้พัฒนารูปแบบฝายมาเป็นกำแพงคอนกรีตเสริมเหล็ก

ฝายน้ำล้นเป็นวิธีการกักเก็บน้ำขนาดเล็ก ที่อาศัยลำน้ำเดิมเป็นที่กักเก็บ หลังจากได้ทำการสร้างฝายมาหลายปีและหลายแห่งแล้ว ยังมิได้มีการศึกษาผลกระทบที่เกิดขึ้น ผู้ทำการวิจัยจึงได้ศึกษาผลกระทบต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับหมู่บ้านตัวอย่างจำนวน 5 หมู่บ้านที่สร้างฝาย โดยการสัมภาษณ์และกรอกแบบสอบถาม การศึกษาผลกระทบนี้  ได้จัดหัวข้อในการศึกษาไว้ดังนี้

สภาพทางธรรมชาติ

ด้านเศรษฐกิจ

ด้านสุขาภิบาล

ด้านการเมืองการปกครอง

ด้านความแข็งแรงและความเหมาะสมของตัวฝาย

ด้านการศึกษา

ด้านสังคม

Article Details

How to Cite
ดำรงชัย ผ. (2013). ผลกระทบจากการสร้างฝายน้ำล้นของนักศึกษา คณะวิศวกรรมศาสตร์ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. Engineering and Applied Science Research, 17(1-2), 1–12. Retrieved from https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/easr/article/view/8153
Section
ORIGINAL RESEARCH