การพัฒนาหลักสูตรอบรมออนไลน์ เรื่องวิธีการช่วยประหยัดไฟฟ้าและการคำนวณค่าไฟฟ้า สำหรับผู้ใช้ไฟฟ้าในจังหวัดชลบุรี
คำสำคัญ:
การพัฒนาหลักสูตรอบรมออนไลน์, ประหยัดไฟฟ้า, การคำนวณค่าไฟฟ้า, ผู้ใช้ไฟฟ้า, จังหวัดชลบุรีบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาหลักสูตรอบรมออนไลน์ เรื่องวิธีการช่วยประหยัดไฟฟ้าและการคำนวณค่าไฟฟ้า สำหรับผู้ใช้ไฟฟ้าในจังหวัดชลบุรี 2) เปรียบเทียบความรู้ก่อนและหลังอบรม และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของผู้เข้าอบรมหลักสูตรอบรมออนไลน์ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทบ้านอยู่อาศัยที่ใช้ไฟฟ้าอัตราปกติในจังหวัดชลบุรี จำนวน 385 คน กำหนดกลุ่มตัวอย่างจากตารางเครจชี่และมอร์แกน และทำการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) หลักสูตรอบรมออนไลน์ เรื่องวิธีการช่วยประหยัดไฟฟ้าและการคำนวณค่าไฟฟ้า สำหรับผู้ใช้ไฟฟ้าในจังหวัดชลบุรี 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้เกี่ยวกับวิธีการช่วยประหยัดไฟฟ้าและการคำนวณค่าไฟฟ้า 3) แบบประเมินความพึงพอใจของผู้เข้าอบรมที่มีต่อหลักสูตรอบรมออนไลน์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสถิติ t-test dependent
ผลการวิจัยพบว่า 1) หลักสูตรอบรมออนไลน์ เรื่องวิธีการช่วยประหยัดไฟฟ้าและการคำนวณค่าไฟฟ้า สำหรับผู้ใช้ไฟฟ้าในจังหวัดชลบุรี มีประสิทธิภาพ 85.24/89.70 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 2) ผลการเปรียบเทียบคะแนนความรู้หลังการอบรมสูงกว่าก่อนการอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) ความพึงพอใจของผู้เข้ารับการอบรมที่มีต่อหลักสูตรอบรมออนไลน์ เรื่องวิธีการช่วยประหยัดไฟฟ้าและการคำนวณค่าไฟฟ้า สำหรับผู้ใช้ไฟฟ้าในจังหวัดชลบุรี โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
References
พระมหาสายัณห์ เปมสีโล (วงศ์สุรินทร์). (2564). หลักสูตรและวิทยาการจัดการเรียนรู้. เอกสารประกอบการสอน. พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตมหาวชิราลงกรณราชวิทยาลัย.
การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย. (2566). [ออนไลน์]. รายงานประจำปี 2565. [สืบค้นเมื่อวันที่ 21 เมษายน 2566]. จาก https://www.egat.co.th/home/annual-report/.
Khan, B. H. (1997). Web-Based Instruction. New Jersey: Educational Technology Publications.
ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2563). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS. กรุงเทพมหานคร: บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.
สมคิด บางโม. (2556). องค์การ และการจัดการ (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพมหานคร: วิทยาพัฒน์.
Babbie, E. (2007). The Practice of Social Research (11th ed.). Bemont, CA: Thomson Wadsworth.
Wilson, J. W. (1971). Evaluation of Learning in Secondary School Mathematics, Handbook on Formative and Summative Evaluation of Student Learning. New York: McGraw-Hill.
Lovett, H. T. (1978). The Effect of Violating the Assumption of Equal Item Means in Estimating the Livingston Coefficient. Educational and Psychological Measurement, 38(2), 239-251.
Likert, R. (1993). New Patterns of Management. New York: McGraw-Hill Book.
Cronbach, L. J. (1977). Educational Psychology. New York: Harcourt Brace Jovanovich.
อมรรัตน์ ศรีส่ง. (2559). การพัฒนาชุดฝึกอบรมแบบผสมผสาน เรื่อง การใช้งานโปรแกรมระบบ สารสนเทศสำหรับครู โรงเรียนอัสสัมชัญศรีราชา. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.
พนิดา พุฒเขียว, พิมพ์พิมล นนท์เสนา, และชเนตตี พิมพ์สวรรค์. (2560). การพัฒนาหลักสูตรอบรมออนไลน์โดยใช้เทคโนโลยีวิดีโอสตรีมมิ่งมีเดีย. วารสารแม่โจ้เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยแม่โจ้, 3(2), 41-53.
พิศมัย สอนสา. (2556). ผลการพัฒนาชุดฝึกอบรมบนเว็บ เรื่อง ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 สำหรับบุคลากรสายสนับสนุน คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ, 6(3), 180-186.
นีรนาท จุลเนียม. (2563). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมออนไลน์เพื่อส่งเสริมสมรรถนะด้านไอซีทีในการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียนของนักศึกษาวิชาชีพครู โดยกิจกรรมการเรียนรู้ร่วมกัน. วารสารศึึกษาศาสตร์ มมรคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย, 8(2), 1-15.
ฐิติชัย รักบำรุง. (2564). การพัฒนารูปแบบการฝึกอบรมออนไลน์ร่วมกับการใช้สถานการณ์จริงเพื่อส่งเสริมการทำงานเป็นทีม สำหรับนิสิตปริญญาตรี สาขาเทคโนโลยีการศึกษา. HRD Journal, 13(1), 94-114.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการสถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 1
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.