รูปแบบการบริหารจัดการคลังปัญญาอาชีวศึกษา ด้วยดิจิทัลแพลตฟอร์ม Intelligent Center: IC Lbtech. เพื่อยกระดับคุณภาพการจัดการอาชีวศึกษา ของวิทยาลัยเทคนิคลพบุรี

ผู้แต่ง

  • ประสงค์ อุบลวัตร วิทยาลัยเทคนิคลพบุรี

คำสำคัญ:

คลังปัญญาอาชีวศึกษา, ดิจิทัลแพลตฟอร์ม, คุณภาพการจัดการอาชีวศึกษา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการและแนวทางการสร้างรูปแบบ 2) สร้างรูปแบบ 3) ทดลองใช้รูปแบบ 4) ประเมินผลการใช้รูปแบบ ดำเนินการวิจัยเป็น 4 ตอน โดยกลุ่มตัวอย่างตอนที่ 1 ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอน เครือข่ายความร่วมมือ จำนวน 446 คน ตอนที่ 2 ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 23 คน ตอนที่ 3 ได้แก่ ผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวน 7 โครงการ และตอนที่ 4 ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอน บุคคลในหน่วยงาน/องค์กรเครือข่าย นักเรียน จำนวน 323 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์   แบบสนทนากลุ่ม แบบประเมิน แบบรายงาน และคู่มือดิจิทัลแพลตฟอร์ม การวิเคราะห์ข้อมูล โดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า 1) ความต้องการและแนวทางการสร้างรูปแบบ ภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก 2) แนวทางการสร้างรูปแบบ ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ 3) ผลการทดลองใช้รูปแบบ การดำเนินการ 7 โครงการ ผลการประเมินความพึงพอใจ ภาพรวมอยู่ในระดับมาก และผลสัมฤทธิ์ ภาพรวมเพิ่มขึ้น 4) ผลการประเมินความสำเร็จของการบริหารจัดการคลังปัญญาอาชีวศึกษาฯ ทุกด้านอยู่ในระดับมากที่สุด ความคิดเห็นเกี่ยวกับคุณภาพการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีด้วยรูปแบบ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ความคิดเห็นเกี่ยวกับรูปแบบ ภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด จำนวนเครือข่ายหน่วยงาน/สถานประกอบการที่เพิ่มขึ้น 77 แห่ง ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้สอน และผู้เรียนได้รับรางวัล ปีการศึกษา 2566 จำนวน 155 รายการ ภาพรวมเกรดเฉลี่ยผู้เรียน ปีการศึกษา 2566 เพิ่มขึ้น ระบบการให้บริการคลังปัญญาอาชีวศึกษาฯ ดังนี้ศูนย์ทดสอบมาตรฐานอาชีพ คลังวิชาชีพ คลังงานวิจัยและนวัตกรรม คลังบุคลากร คลังสื่อดิจิทัล และฝึกงาน

References

สำนักงานคณะกรรมการการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2565). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 13 (2560-2564). กรุงเทพมหานคร: สำนักนายกรัฐมนตรี

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 - 2579. กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค.

ประไพ นำธวัช และคณะ. (2563). โครงการวิจัยเพื่อพัฒนาต้นแบบคลังปัญญาเพื่อการผลิตและพัฒนาช่างเทคนิค: กรณีศึกษาสาขาปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์. รายงานการวิจัยสถาบันปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย, กรุงเทพมหานคร.

จุฑามาศ ถึงนาค นพดล เอกผาชัยสวัสดิ์ สุนิศา รอดจินดา และดารารัตน์ จุฬาพันธุ์. (2561). การพัฒนาและการจัดการคลังปัญญาดิจิทัล มหาวิทยาลัยศิลปากร. รายงานการวิจัยสาขาวิชาสารสนเทศศาสตร์และบรรณารักษศาสตร์มหาวิทยาลัยศิลปากร, กรุงเทพมหานคร.

ชาญทนงค์ บุญรักษา. (2556). การพัฒนารูปแบบการบริหารการใช่ทรัพยากรร่วมกันเพื่อการจัดการศึกษา ระดับปริญญาตรีในสถาบันการอาชีวศึกษา. วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยนเรศวร, พิษณุโลก.

ศิริชัย กาญจนวาสี. (2552). ทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิม (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Gawltney, R. L. (2005). Management Information System, Administrative Behavior. New York: Educational Administration.

ธงชัย ยมลำภู. (2552). ระบบสารสนเทศของโครงการสหกิจศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ตาก. การค้นคว้าอิสระวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.

ทัศนีย์ ทรัพย์วิไล และผุสดี ดอกพรม. (2559). การพัฒนาระบบคลังสารสนเทศดิจิทัลสำหรับครู โรงเรียนเซนต์ฟรังซีสซาเวียร์คอนแวนต์กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร, นครปฐม.

Michelle, A. (2014). Institutional Repository Management Models That Support Faculty Research Dissemination. OCLC Systems & Services, 30(1), 43-51.

จารุณี การี. (2562). ความต้องการและแนวทางการดำเนินงานคลังปัญญาตามแผนพัฒนาดิจิทัล เพื่อเศรษฐกิจและสังคมประเทศไทย 4.0: กรณีศึกษา สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา. อินฟอร์เมชั่น, 26(2), 83-101.

อัมพวา ธาราพิทักษ์วงศ์. (2553). การพัฒนาระบบจัดการการฝึกงานผ่านอินเทอร์เน็ตโรงเรียนพณิชยการ เชียงใหม่. เชียงใหม่: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

รสนันท์ มานะสุข และเพ็ญพิศุทธิ์ ใจสนิท. (2564). รูปแบบการถ่ายทอดคลังปัญญาผู้สูงอายุในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในจังหวัดเชียงราย. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, 16(1), 83-93.

ภัศรา อินทร์เล็ก. (2558). การพัฒนาระบบสารสนเทศผลงานนักศึกษาคณะดุริยางคศาสตร์มหาวิทยาลัย ศิลปากร. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสนเทศศาสตร์เพื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร, นครปฐม.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

28-06-2024