ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อการดําเนินงานกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 1

ผู้แต่ง

  • ภานุวัฒน์ โพธิสาขา สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม
  • ไพฑูรย์ พวงยอด สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม
  • ชาญวิทย์ หาญรินทร์ สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม

คำสำคัญ:

ปัจจัยการบริหาร, กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน, สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 1

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาและเปรียบเทียบปัจจัยการบริหาร 2) ศึกษาและเปรียบเทียบการดำเนินงานกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนในโรงเรียน 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยการบริหารกับการดำเนินกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนในโรงเรียน และ 4) ศึกษาอำนาจพยากรณ์ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อการดําเนินงานกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 1 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู จำนวน 430 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้เกณฑ์ร้อยละได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีจำนวน 2 ฉบับ คือ
แบบสอบถามปัจจัยการบริหาร และแบบสอบถามการดำเนินงานกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนในโรงเรียน สถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสมมติฐานโดยใช้ค่าที (t-test แบบ Independent Samples) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว การวิเคราะห์สหสัมพันธ์และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน 

ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยการบริหารโดยรวมอยู่ในระดับมาก ผลการเปรียบเทียบปัจจัยการบริหารจำแนกตามสถานภาพและขนาดสถานศึกษา พบว่า โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2) การดำเนินงานกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนในโรงเรียน โดยรวมอยู่ในระดับมาก ผลการเปรียบเทียบการดำเนินงานกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนในโรงเรียน จำแนกตามสถานภาพและขนาดสถานศึกษา พบว่า โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3) ปัจจัยการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษากับการดำเนินงานกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนในโรงเรียนมีความสัมพันธ์กันทางบวกในระดับสูงอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 และ 4) ตัวแปรปัจจัยการบริหารที่ร่วมส่งผลต่อการดำเนินงานกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 1 มี 7 ตัวแปร โดยร่วมกันพยากรณ์ได้ร้อยละ 81

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2564). นวัตกรรมการบริหารจัดการสถานศึกษาในการพัฒนาผู้เรียนให้เกิดผลลัพธ์ที่พึงประสงค์ตามมาตรฐานการศึกษาของชาติ: กรณีตัวอย่างโรงเรียนเทศบาล 4 สันป่าก่อ. กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค.

ณัฐชยา ฐานิสร นรา บูรณรัช วรรณี ลิมอักษร อุษา เหมตะศิลป ดวงจันทร์ เดชรักษา และศุภวดี บุญญวงศ์ (2553). สภาพการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนของสถานศึกษา. สงขลา: มหาวิทยาลัยทักษิณ.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 1. (2565). งานการเจ้าหน้าที่. นครพนม: สำนักงาน.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.

สมนึก ภัททิยธานี. (2565). การวัดผลการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 13). กาฬสินธุ์: ประสานการพิมพ์.

ทรงศักดิ์ ภูสีอ่อน. (2558). การประยุกต์ใช้ SPSS วิเคราะห์ข้อมูลงานวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 7). มหาสารคาม: ตักสิลาการพิมพ์.

พรสวัสดิ์ ศิรศาตนันท์. (2555). ภาวะผู้นำทางการศึกษา. จันทบุรี: คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

วิโรจน์ สารรัตนะ. (2557). แนวคิด ทฤษฎี และประเด็น เพื่อการบริหารทางการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: ซีเอ็ดบุ๊คเซ็นเตอร์.

นพพล ศุภวิทยาเจริญกุล. (2560). ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาสกลนคร เขต 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, สกลนคร.

อิทธิเดช ปราศัยงาม เยาวลักษณ์ สุตะโคตร ธวัชชัย ไพใหล. (2565). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการดำเนินงานกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1. วารสารการบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 10(38), 125-135.

ณัฐนนท์ ค้าขาย จักรปรุฬห์ วิชาอัครวิทย์ และเกตุมณี มากมี. (2562). การบริหารจัดการงานกิจกรรมนักเรียนแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนเทพบดินทร์วิทยาเชียงใหม่. วารสารสมาคมพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษาแห่งประเทศไทย, 1(1), 23-30.

Chell, J. (2001). Introducing Principal to the Role of Instructional Leadership: A Summary of Master’s Project. New York: McGraw-Hill.

วรรณา เฟื่องฟู. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษากับการเป็น องค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2. วารสารอิเล็กทรอนิกส์การเรียนรู้ทางไกลเชิงนวัตกรรม, 5(2), 47-63.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

28-06-2024