การพัฒนากระบวนการนิเทศผสมผสานแบบร่วมพัฒนาเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้สำหรับครูผู้สอนอาชีวศึกษา สถานศึกษาประเภทวิทยาลัยการอาชีพ ในพื้นที่ภาคใต้

ผู้แต่ง

  • อภิชาติ เนินพรหม ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีวศึกษาภาคใต้ จังหวัดสงขลา

คำสำคัญ:

การนิเทศแบบผสมผสาน, การนิเทศแบบร่วมพัฒนา, คู่สัญญานิเทศ, สมรรถนะการจัดการเรียนรู้

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนากระบวนการนิเทศผสมผสานแบบร่วมพัฒนาเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ สำหรับครูผู้สอนอาชีวศึกษา สถานศึกษาประเภทวิทยาลัยการอาชีพ ในพื้นที่ภาคใต้ 2) เพื่อศึกษาผลการใช้กระบวนการนิเทศผสมผสานแบบร่วมพัฒนาเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ สำหรับครูผู้สอนอาชีวศึกษา สถานศึกษาประเภทวิทยาลัยการอาชีพ ในพื้นที่ภาคใต้โดยกลุ่มตัวอย่างสถานศึกษาประเภทวิทยาลัยการอาชีพ จำนวน 15 แห่ง โดยการสุ่มแบบกลุ่มโดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากครูผู้สอน จำนวน 351 คน ได้มาโดยการสมัครใจเข้าร่วมโครงการ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล จำนวน 5 ชุด ได้แก่ (1) แบบทดสอบความรู้สมรรถนะการจัดการเรียนรู้ (2) แบบประเมินทักษะการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ (3) แบบประเมินทักษะการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ (4) แบบประเมินคุณลักษณะความเป็นครู และ (5) แบบสอบถามความพึงพอใจต่อการนิเทศ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยหาร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการพัฒนากระบวนการนิเทศผสมผสานแบบร่วมพัฒนาเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้สำหรับครูผู้สอนอาชีวศึกษา สถานศึกษาประเภทวิทยาลัยการอาชีพ ในพื้นที่ภาคใต้ มีกระบวนการสำคัญ 5 ขั้นตอนประกอบด้วย ขั้นวางแผนการนิเทศ ขั้นเสริมสร้างความรู้ ขั้นดำเนินการนิเทศ ขั้นประเมินผลการนิเทศ และขั้นสะท้อนผลการนิเทศ โดยผสมผสานการนิเทศแบบเผชิญหน้า (Onsite) และการนิเทศออนไลน์ (Online) ใช้วิธีการนิเทศแบบร่วมพัฒนาโดยการจับคู่สัญญาของผู้รับการนิเทศ และเทคนิคการนิเทศแบบชี้แนะและเป็นพี่เลี้ยงซึ่งกระบวนการนิเทศที่พัฒนาขึ้นมีความเหมาะสมและความเป็นไปได้ในระดับมากที่สุด 2) ผลการศึกษาการใช้กระบวนการนิเทศผสมผสานแบบร่วมพัฒนาเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้สำหรับครูผู้สอนอาชีวศึกษา สถานศึกษาประเภทวิทยาลัยการอาชีพ ในพื้นที่ภาคใต้ พบว่าสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอน ด้านความรู้ในการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ ภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง และด้านความรู้การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ ภาพรวมอยู่ในระดับดี ด้านการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ ภาพรวมอยู่ในระดับดี และด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ภาพรวมอยู่ในระดับดี ด้านคุณลักษณะของความเป็นครูภาพรวมอยู่ในระดับดี และความพึงพอใจต่อการนิเทศภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

References

ประวิต เอราวรรณ์. (2564). [ออนไลน์]. กรอบแนวคิดสำคัญในการปฏิรูปวิชาชีพครู. [สืบค้นเมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2564] จาก https://otepc.go.th/th/content_page/item/3378-pa-3.html.

ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2560). ความเป็นผู้นำทางการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา. (2564). [ออนไลน์]. มาตรฐานตำแหน่งครู. [สืบค้นเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2564]. จาก https://otepc.go.th/th/.

สำนักพัฒนาสมรรถนะครูและบุคลากรอาชีวศึกษา. (2564). [ออนไลน์]. ผลการรับรองหลักสูตรการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา สายงานการสอน. [สืบค้นเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2564]. จาก https://bpcd.vec.go.th/.

ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีวศึกษาภาคใต้. (2563). การนิเทศการจัดการเรียนการสอนประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564. สงขลา: ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีวศึกษาภาคใต้

ปนัดดา หมอยา และธรินธร นามวรรณ. (2561). การพัฒนาระบบการนิเทศแบบสอนแนะในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 24. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 15(69), 52-61.

นิรันดร กากแก้ว และคณะ. (2563). การนิเทศด้วยกระบวนการวิจัยเพื่อส่งเสริมประสิทธิภาพการสอนของครูกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม. ขอนแก่น: สำนักงานศึกษาธิการภาค 12 สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงศึกษาธิการ.

ธนัฏฐา วุฒิวณิชย์. (2562). รูปแบบการนิเทศที่มีประสิทธิผลต่อการจัดการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนเทศบาล วัดท่าสะต๋อย อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารการศึกษาและการพัฒนาสังคม มหาวิทยาลัยบูรพา, 15(2), 302-314.

รุ่งชัชดาพร เวหะชาติ. (2557). การนิเทศการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 5). สงขลา: นำศิลป์โฆษณา.

สมศักดิ์ จี้เพ็ชร์. (2562). การพัฒนาคุณภาพครูโดยการนิเทศแบบสอนแนะและการเป็นพี่เลี้ยงโรงเรียนมหาสวัสดิ์ (ราษฎรบำรุง). วารวิชาการบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, 15(2), 165-184

ณัฐนันท์ วงษ์กลม และคณะ. (2562). การนำเสนอแนวทางการพัฒนาสมรรถนะครูด้านการวิจัยทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2. วารสารวิจัยราชภัฏกรุงเก่า, 6(2), 17-22.

สุดสาย ศรีศักดา และคณะ. (2563). รูปแบบการนิเทศเพื่อส่งเสริมสมรรถนะด้านการวิจัยของครูอาชีวศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 22(1), 287-300.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-06-2023