กลยุทธ์การบริหารจัดการ การเสริมสร้างสมรรถนะครูผู้ช่วย เพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนรู้ ของวิทยาลัยเทคนิคภูเก็ต
คำสำคัญ:
สมรรถนะครูผู้ช่วย, กลยุทธ์การเสริมสร้างสมรรถนะครูผู้ช่วย, วิทยาลัยเทคนิคภูเก็ตบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระบบนิเวศการบริหารจัดการการเสริมสร้างสมรรถนะครูผู้ช่วย เพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนรู้ ของวิทยาลัยเทคนิคภูเก็ต 2) กำหนดกลยุทธ์การบริหารจัดการ การเสริมสร้างสมรรถนะครูผู้ช่วยเพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนรู้ ของวิทยาลัยเทคนิคภูเก็ต การดำเนินการ เริ่มจากการศึกษาระบบนิเวศการบริหารจัดการการเสริมสร้างสมรรถนะครูผู้ช่วย เพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนรู้ ของวิทยาลัยเทคนิคภูเก็ต โดยสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 15 คน เลือกแบบเจาะจง แล้วนำผลการสัมภาษณ์มาวิเคราะห์เชิงเนื้อหา กำหนดเป็นกลยุทธ์การบริหารจัดการการเสริมสร้างสมรรถนะครูผู้ช่วย และคู่มือดำเนินการตามกลยุทธ์การบริหารจัดการ เพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนรู้ ของวิทยาลัยเทคนิคภูเก็ต ประเมินโดยผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหารสถานศึกษาอาชีวศึกษาหรือการเสริมสร้างสมรรถนะครูผู้ช่วย จำนวน 9 คน เลือกแบบเจาะจง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าเฉลี่ย และสถิติค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย พบว่าระบบนิเวศการบริหารจัดการการเสริมสร้างสมรรถนะครูผู้ช่วย เพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนรู้ ของวิทยาลัยเทคนิคภูเก็ต ประกอบด้วย 4 กลยุทธิ์ ได้แก่ 1) การเสริมสร้างแรงบันดาลใจให้มีความมุ่งมั่น 2) การบ่มเพาะให้มีความรู้ในศาสตร์ด้านวิชาชีพ 3) การปลูกฝังจิตสาธารณะ 4) การทำงานโดยมุ่งให้เกิดผลสัมฤทธิ์ และผู้ทรงคุณวุฒิเห็นด้วยกับกลยุทธ์การบริหารจัดการการเสริมสร้างสมรรถนะครูผู้ช่วยและคู่มือดำเนินการตามกลยุทธ์การบริหารจัดการ เพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนรู้ ของวิทยาลัยเทคนิคภูเก็ต ที่มีกลไกในการบริหารจัดการ โดยความร่วมมือระหว่างสถานศึกษาและสถานประกอบการ ในการสร้างระบบนิเวศการบริหารจัดการ การจัดสรรทรัพยากรบุคคล วัสดุ ครุภัณฑ์การศึกษา เพื่อส่งเสริมการพัฒนาครูผู้ช่วยในการจัดการศึกษาตามหลักสูตรการศึกษา กรอบมาตรฐานคุณวุฒิอาชีวศึกษา มาตรฐานอาชีพ และการจัดกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะครูผู้ช่วยในการพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนรู้ ของวิทยาลัยเทคนิคภูเก็ตในระดับมาก
References
วิชัย วงษ์ใหญ่ และมารุต พัฒผล. (2562). การเรียนรู้ในโลก VUCA World สู่ Social Quotient. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์ผู้นำนวัตกรรมหลักสูตรและการเรียนรู้.
ฉัตรชัย ชูแสงนิล. (2564). [ออนไลน์]. ความฉลาดทางดิจิทัล (Digital Intelligence). [สืบค้นเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2565]. จาก https://scimath.org/article-technology/item/10611-digital-intelligence.
วัฒนาพร ระงับทุกข์. (2563). สมรรถนะเด็กไทยในยุคโลกพลิกผัน (VUCA World). คุรุสภาวิทยาจารย์, 1(1), 8-18.
อมรรัตน์ รัตนสิริ มานพ คณะโต และนฤมล สินสุพรรณ. (2550). [ออนไลน์]. การสัมภาษณ์เชิงลึก. [สืบค้นเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2565]. จาก http://home.ku.th/sompong/cm2/indepth.pdf.
สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. (2555). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 15). กรุงเทพมหานคร: สามลดา.
ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2563). อนาคตของครุศึกษาไทยกับการสร้างความฉลาดรู้. คุรุสภาวิทยาจารย์, 1(1), 1-7.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการสถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 1
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.