การพัฒนาหลักสูตรการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ สำหรับการจัดการเรียนรู้ของผู้สอน ในระดับอาชีวศึกษา ผ่านระบบออนไลน์มัลติแพลตฟอร์ม

ผู้แต่ง

  • ฉารีฝ๊ะ หัดยี คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย
  • วาสนา บุญส่ง คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย
  • ปิยะ ประสงค์จันทร์ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย

คำสำคัญ:

หลักสูตรการวัดและประเมินผล, ระบบออนไลน์, มัลติแพลตฟอร์ม

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการพัฒนาหลักสูตรการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ สำหรับการจัดการเรียนรู้ของผู้สอนในระดับอาชีวศึกษา ผ่านระบบออนไลน์มัลติแพลตฟอร์ม โดยมีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อพัฒนาหลักสูตรการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ สำหรับการจัดการเรียนรู้ของผู้สอนในระดับอาชีวศึกษา ผ่านระบบออนไลน์มัลติแพลตฟอร์ม และ 2) เพื่อตรวจสอบคุณภาพพัฒนาหลักสูตรการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ สำหรับการจัดการเรียนรู้ของผู้สอนในระดับอาชีวศึกษา ผ่านระบบออนไลน์มัลติแพลตฟอร์ม โดยประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้สอนเครือข่ายสถาบันการอาชีวศึกษาทั้งหมด 14 เครือข่าย พื้นที่ภาคใต้ ได้มาโดยวิธีเลือกแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบประเมินคุณภาพหลักสูตร แบ่งเป็น 3 ตอน ตอนที่ 1 เป็นการประเมินความเหมาะสมของหลักสูตร ตอนที่ 2 เป็นการประเมินความสอดคล้องของหลักสูตร และตอนที่ 3 เป็นปลายเปิด สถิติที่ใช้ ได้แก่ การหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และแปลผลโดยนำค่าเฉลี่ยมาเทียบกับเกณฑ์

ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการพัฒนาหลักสูตรการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ สำหรับการจัดการเรียนรู้ของผู้สอนในระดับอาชีวศึกษา ผ่านระบบออนไลน์มัลติแพลตฟอร์ม ประกอบด้วยเนื้อหา 6 หน่วย ได้แก่ หน่วยที่ 1 แนวคิดและจุดมุ่งหมายของการวัดและประเมินผล หน่วยที่ 2 การสร้างเครื่องมือการประเมินการปฏิบัติ หน่วยที่ 3 เกณฑ์การให้คะแนนแบบรูบริค หน่วยที่ 4 การออกแบบการประเมินการปฏิบัติ หน่วยที่ 5 การตรวจสอบคุณภาพการประเมินการปฏิบัติ และหน่วยที่ 6 การประเมินการปฏิบัติออนไลน์ และ 2) ผลการตรวจสอบคุณภาพหลักสูตรการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ สำหรับการจัดการเรียนรู้ของผู้สอนในระดับอาชีวศึกษา ผ่านระบบออนไลน์มัลติแพลตฟอร์ม ผลการประเมินความสอดคล้องของหลักสูตรในภาพรวม พบว่า หลักสูตรมีความสอดคล้องในระดับมาก ทั้งนี้พบว่าหลักการและเหตุผลของหลักสูตรมีความสอดคล้องกับความสำคัญในการพัฒนาหลักสูตร มีค่าเฉลี่ยระดับมากที่สุด และจุดมุ่งหมายของหลักสูตรมีความสอดคล้องกับหลักการของหลักสูตร มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ผลการประเมินความเหมาะสมของหลักสูตรในภาพรวม พบว่ามีความเหมาะสมในระดับมาก ทั้งนี้เมื่อพิจารณาความเหมาะสมของหลักสูตรเป็นรายด้าน จำนวน 3 ด้าน หลักสูตรที่พัฒนาขึ้นมีความเหมาะสมตามลำดับดังนี้ (1) ด้านสื่อ/เทคโนโลยี พบว่ามีความเหมาะสมในระดับมาก (2) ด้านเนื้อหา/โครงสร้างของหลักสูตร พบว่ามีความเหมาะสมในระดับมาก และ (3) ด้านการออกแบบหรือกระบวนการเรียนรู้ ด้านการออกแบบหรือกระบวนการเรียนรู้ พบว่ามีความเหมาะสมในระดับมาก และผลการประเมินความพึงพอใจผู้ใช้หลักสูตรการวัดและประเมินผลสำหรับการจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติในระดับอาชีวศึกษาผ่านระบบออนไลน์มัลติแพลตฟอร์มมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด

References

วิทยา วาโยว อภิรดี เจริญนุกูล ฉัตรสุดา กานกายันต์ และจรรยา คนใหญ่. (2563). การเรียนการสอนแบบออนไลน์ภายใต้สถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัส COVID-19: แนวคิดและการประยุกต์ใช้จัดการเรียนการสอน. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 : วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม, 14(34), 285-298.

วิไลวัลย์ โพธิ์ทอง. (2561). เทคโนโลยีกับการเรียนรู้ตลอดชีวิตของครู. วารสารการวิจัยเพื่อพัฒนาชุมชน มหาวิทยาลัยนเรศวร, 11(2), 18-26.

ประวีนา เอี่ยมยี่สุ่น. (2560). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม เรื่อง การวัดและประเมินผล การเรียนรู้สำหรับนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู คณะศิลปศึกษา สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร, 8(1), 210-219.

สงัด อุทรานันท์. (2532). พื้นฐานและหลักการพัฒนาหลักสูตร. กรุงเทพมหานคร: เซนเตอร์พับลิคเคชั่น

Tyler, R. W. (1950). Basic Principles of Curriculum and Instruction, Syllabus for Education 360. Chicago: University of Chicago Press.

ไชยยศ ไพวิทยศิริธรรม ภัทราวดี มากมี และเขมณัฏฐ์ มิ่งศิริธรรม. (2556). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมด้านประเมินผลการเรียนรู้ระดับสูง สำหรับครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 6(1), 448-456.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-06-2023