การส่งเสริมและพัฒนาความรู้การวิจัยอาชีวศึกษา เพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่วิสาหกิจชุมชน
คำสำคัญ:
การจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน, ถ่ายทอดเทคโนโลยี, วิสาหกิจชุมชนบทคัดย่อ
แนวคิดการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน เป็นรูปแบบกลยุทธ์การจัดการเรียนการสอนผ่านการเชื่อมโยงนำเอาองค์ความรู้ ทักษะ และสมรรถนะทางวิชาชีพที่ได้จากทฤษฎีในห้องเรียนมาประยุกต์ใช้ในสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริง ผ่านการปฏิบัติ วิเคราะห์ สังเคราะห์ และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการร่วมแก้ไขปัญหาระหว่างผู้เรียน ครูผู้สอน และชุมชนในพื้นที่ โดยมีเป้าหมายในการพัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะที่จำเป็นแห่งศตวรรษที่ 21 สามารถดำรงชีวิตได้อย่างมีคุณภาพและประสิทธิภาพในยุคสมัยแห่งความแปรผัน ซึ่งการศึกษาที่ผ่านมา พบว่า การจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐานจะมีรูปแบบการดำเนินการที่สอดคล้องกัน 3 กระบวนการ คือ การวางแผน การดำเนินการ และการวัดผลประเมินผล ดังนั้นบทความนี้จึงมุ่งที่จะนำเสนอแนวความคิด หลักการ และแนวทางในการขับเคลื่อนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน ให้ผู้เรียนได้ปฏิบัติจริงผ่านโครงการ “ส่งเสริมและพัฒนาองค์ความรู้ การวิจัยด้านอาชีวศึกษา เพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่วิสาหกิจชุมชน” ของสำนักวิจัยและพัฒนาการอาชีวศึกษา เพื่อเป็นการพัฒนารูปแบบการยกระดับการจัดการศึกษาเชิงรุก สนับสนุนการสร้างองค์ความรู้การคิดผลงานสร้างสรรค์ และนวัตกรรมผ่านกระบวนการวิจัยที่สนองต่อนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อยกระดับและนำไปสู่การนำพาประเทศออกจากกับดักรายได้ปานกลางเป็นประเทศที่ขับเคลื่อนด้วยเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในการผลิตกำลังคนสมรรถนะสูงป้อนเข้าสู่ตลาดแรงงานในอนาคต
References
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2561). ยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี พ.ศ. 2561-2580. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2564). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม แห่งชาติ ฉบับที่ 13. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
OECD. (2019). [Online]. OECD Future of Education and Skills 2030, OECD Learning Compass 2030 a Series of Concept Notes. [Retrieved October 19, 2022]. from https://www.oecd.org/education/2030-project/teaching-and-learning/learning/learning-compass-2030/OECD_Learning_Compass_2030_concept_note.pdf.
คณะกรรมาธิการนานาชาติว่าด้วยการศึกษาในศตวรรษที่ 21. (2551). การเรียนรู้: ขุมทรัพย์ในตน. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2565). [ออนไลน์]. ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง นโยบายและจุดเน้นของกระทรวงศึกษาธิการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565-2566. [สืบค้นเมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2565]. จาก https://www.moe.go.th/360policy-and-focus-moe-2023/.
สุรพงษ์ เอิมอุทัย. (2564). แนวทางการพัฒนาครูและบุคลากรอาชีวศึกษา ประจำปี พ.ศ. 2565 เพื่อการขับเคลื่อนนโยบายการศึกษา เพื่ออาชีพและสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ. วารสารวิชาการสถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 1, 6(2), 3-12.
สมพร ปานดำ. 20 พฤษภาคม 2565: สัมภาษณ์
สำนักวิจัยและพัฒนาการอาชีวศึกษา. (2565). [ออนไลน์]. วิสัยทัศน์และภารกิจ. [สืบค้นเมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2565]. จาก https://ver.vec.go.th/th-th/เกี่ยวกับเรา/วิสัยทัศน์และภารกิจ.aspx.
วิไลภรณ์ ฤทธิคุปต์. (2561). การจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน: กลยุทธ์การจัดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพของครูในศตวรรษที่ 21. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, 11(3), 179-191.
เบญจมาภรณ์ ชำนาญฉา และศศิธร คงอุดมทรัพย์. (2563). การศึกษารูปแบบการเรียนการสอนแบบชุมชน เป็นฐาน: ชุมชนบางน้ำผึ้ง กรณีศึกษาของวิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก. วารสารวิชาการเซาธ์อีสท์บางกอก (สาขามนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์), 6(1), 37-49.
กล้า ทองขาว. (2565). [ออนไลน์]. การจัดการศึกษาฐานชุมชน. [สืบค้นเมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2565]. จาก https://www.dpu.ac.th/ces/upload/km/1377584927.docx.
Midwestern Intermediate Unit IV. (2022). [Online]. Community Based Vocational Training Transition from School to Work. [Retrieved October 19, 2022] from https://www.miu4.org/Page/310.
Melaville, A., Berg, A. C., & Blank M. J. (2015). [Online]. Community-Based learning : Engaging students for success and citizenship. [Retrieved October 19, 2022]. from https://digitalcommons.unomaha.edu/cgi/viewcontent.cgi?article=1034&context=slcepartnerships.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารวิชาการสถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 1
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.