การศึกษาคุณลักษณะและบทบาทของครูที่ปรึกษาตามทัศนคติของนักเรียน โรงเรียนเตรียมวิศวกรรมศาสตร์ ไทย-เยอรมัน

ผู้แต่ง

  • พิชัย ชอบสุข สาขาบริหารอาชีวะและเทคนิคศึกษา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
  • อโนมา ศิริพานิช ภาควิชาบริหารเทคนิคศึกษา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
  • ปิยะ กรกชจินตนาการ ภาควิชาครุศาสตร์เครื่องกล คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

คำสำคัญ:

ครูที่ปรึกษา, คุณลักษณะ, บทบาท, โรงเรียนเตรียมวิศวกรรมศาสตร์ ไทย-เยอรมัน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาคุณลักษณะและบทบาทของครูที่ปรึกษาตามทัศนคติของนักเรียน โรงเรียนเตรียมวิศวกรรมศาสตร์ ไทย-เยอรมัน และ 2) เปรียบเทียบคุณลักษณะและบทบาทของครูที่ปรึกษาตามทัศนคติของนักเรียน โรงเรียนเตรียมวิศวกรรมศาสตร์ ไทย-เยอรมัน จำแนกตามสาขา และระดับชั้นปี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ นักเรียนโรงเรียนเตรียมวิศวกรรมศาสตร์ ไทย-เยอรมัน ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ หลักสูตรเตรียมวิศวกรรมศาสตร์ (ฐานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี) ชั้นปีที่ 1-3 ทุกสาขา ที่ลงทะเบียนเรียนภาคเรียนที่ 2/2564 จำนวน 350 คน โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามซึ่งมีค่าความเชื่อมั่น .951 สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบไค-สแควร์ และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว

ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรคุณลักษณะ และตัวแปรบทบาทครูที่ปรึกษาตามทัศนคติของนักเรียน พบว่า คุณลักษณะของครูที่ปรึกษา มี 4 องค์ประกอบ ได้แก่ ด้านมนุษยสัมพันธ์ ด้านความรู้ที่เกี่ยวข้องกับนักเรียน ด้านบุคลิกภาพ และด้านคุณธรรมจริยธรรม ส่วนบทบาทของครูที่ปรึกษา มี 5 องค์ประกอบ ได้แก่ ด้านวิชาการ ด้านบริการและพัฒนาผู้เรียน ด้านส่งเสริมศักยภาพอาชีพ ด้านประสานงานและอื่น ๆ และด้านทักษะชีวิต 2) ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบองค์ประกอบคุณลักษณะและบทบาทของครูที่ปรึกษาตามทัศนคติของนักเรียน จำแนกตามสาขา และระดับชั้นปี ดังนี้ ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบองค์ประกอบคุณลักษณะ จำแนกตามสาขา พบว่า ไม่แตกต่างกัน ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบ องค์ประกอบบทบาท จำแนกตามสาขา พบว่า ระดับความคิดเห็นตามทัศนคติของนักเรียนสาขาเตรียมวิศวกรรมเครื่องกล กับสาขาเตรียมวิศวกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 ส่วนสาขาคู่อื่น ๆ ไม่มีความต่างกัน ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบองค์ประกอบคุณลักษณะ จำแนกตามชั้นปี พบว่า ไม่แตกต่างกัน ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบองค์ประกอบบทบาท จำแนกตามชั้นปี พบว่า ไม่แตกต่างกัน

References

ชนากานต์ วิสารเวท. (2559). [ออนไลน์]. ครู. [สืบค้นวันที่ 10 พฤษภาคม 2565]. จาก https://www.gotoknow.org/posts/618698.

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย. (2555). คู่มืออาจารย์ที่ปรึกษา. สงขลา: งานแนะแนวการศึกษาและอาชีพ กองพัฒนานักศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย.

ปานทิพย์ เรืองอร่าม. (2551). ปัญหาการเรียนของนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะบริหารธุรกิจมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ วิทยาเขตวังไกลกังวล. สารนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาธุรกิจศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

กเชษฐ์ กิ่งชนะ. (2554). บทบาทและหน้าที่ครูที่ปรึกษา สถานศึกษาในสังกัดสํานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เชียงราย พะเยา แพร่. ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, เชียงราย.

Comrey, A. L., & Lee, H. B. (1992). A First Course in Factor Analysis (2nd ed). Hillsdale, New Jersey: Lawrence Erlbaum Associated.

Kaiser, H. F., & John R. (1974). Little Jiffy Mark IV, Educational and Psychological Measurement, 34, 111-117.

กัญญานันท์ หินแก้ว. (2558). คุณลักษณะของครูที่ปรึกษาตามทัศนะของนักเรียนและที่พึงประสงค์ของนักเรียน ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนมัธยมวัดใหม่กรงทองในพระราชูปถัมภ์ฯ. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.

เอนก ณะชัยวงค์. (2557). ความคาดหวังและความต้องการของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ต่อบทบาทอาจารย์ที่ปรึกษา. พิฆเนศวร์สาร, 10(2), 189-200.

มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี. (2561). การปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่อาจารย์ที่ปรึกษาระดับปริญญาตรี. สุราษฎร์ธานี: สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.

จุรีรัตน์ พันสอน. (2560). คุณลักษณะครูที่ปรึกษาตามความต้องการของนักเรียนโรงเรียน หันห้วยทรายพิทยาคม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 31 จังหวัดนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.

สลักใจ ศรีธราดล และจิราพร บุญช่วย. (2557). บทบาทอาจารย์ที่ปรึกษาที่คาดหวังที่ปฏิบัติจริงและปัญหาเกี่ยวกับระบบอาจารย์ที่ปรึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่. สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่.

ปรณัฐ กิจรุ่งเรือง อิศเรศ พิพัฒน์มงคลพร กนิษฐา เชาว์วัฒนกุล และนภาเดช บุญเชิดชู. (2558). การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนารูปแบบการสร้างเสริมศักยภาพอาจารย์นิเทศก์ และอาจารย์พี่เลี้ยง เพื่อพัฒนาความสามารถด้านการเป็นพี่เลี้ยงทางวิชาการสำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู (โครงการย่อยที่ 4): รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม.

ศุภรา หิมานันโต และเอกพจน์ สืบญาติ. (2548). คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของอาจารย์ที่ปรึกษาตาม ความคาดหวังของนักศึกษาและอาจารย์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี. ชลบุรี: วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีชลบุรี.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

28-12-2022