การพัฒนานวัตกรรมสำหรับผู้สูงอายุด้วยกระบวนการคิดเชิงออกแบบ

ผู้แต่ง

  • พิชามญชุ์ สุรียพรรณ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
  • สุทธิศิลป์ สุขสบาย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
  • ปารณีย์ ชั่งกฤษ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
  • มหิดล สุรียพรรณ สาขาเทคโนโลยีไฟฟ้า วิทยาลัยเทคนิคสุราษฎร์ธานี

คำสำคัญ:

การพัฒนานวัตกรรม, พื้นยางกันลื่น, ผู้สูงอายุ, กระบวนการคิดเชิงออกแบบ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนานวัตกรรมต้นแบบพื้นกันลื่นที่ผลิตจากน้ำยางพาราเพื่อลดอุบัติเหตุจากการลื่นล้มสำหรับผู้สูงอายุด้วยกระบวนการคิดเชิงออกแบบ 2) ทดสอบประสิทธิภาพของนวัตกรรมต้นแบบจากห้องปฏิบัติการ โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการ Action Research ด้วยการประยุกต์ใช้กระบวนการคิดเชิงออกแบบ

ผลการวิจัยพบว่า การประยุกต์ใช้กระบวนการคิดเชิงออกแบบ 5 ขั้นตอนเพื่อนำไปสู่การพัฒนานวัตกรรมนั้น ได้รับความร่วมมือจากสามชิกในชุมชนเมืองหลังสวน จังหวัดชุมพร ในการระดมความคิดเพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นโดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุในชุมชนดังกล่าวได้เป็นอย่างดี นำไปสู่การพัฒนานวัตกรรมต้นแบบที่ใช้วัสดุธรรมชาติของชุมชนท้องถิ่น คือ ยางพารา เนื่องจากน้ำยางพาราที่ใช้ในการผลิตนำมาจากชาวสวนยางในจังหวัดสุราษฎร์ธานีและจังหวัดชุมพร ซึ่งอาชีพทำสวนยางพาราเป็นอาชีพหลักของชุมชนท้องถิ่นภาคใต้ และผลจากการทดสอบหาประสิทธิภาพของนวัตกรรมต้นแบบจากห้องปฏิบัติการ พบว่านวัตกรรมต้นแบบแผ่นยางที่พัฒนาขึ้นทำจากน้ำยางพารา 100% มีคุณสมบัติกันลื่นและมีประสิทธิภาพด้วยการทดสอบจากห้องปฏิบัติการ เช่น เวลาสุกของยาง (Cure Time) ที่อุณหภูมิ 150˚ C = 4.32 ค่าความแข็ง (Hardness) = 70.4 คุณสมบัติเชิงกล คือ Tensile Strength (MPA) = 8.48 Elongation Break (%) = 333 เป็นต้น ซึ่งผลจากการวิจัยดังกล่าวสามารถนำนวัตกรรมต้นแบบที่วิจัยขึ้นไปเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาของกลุ่มผู้สูงอายุในชุมชนอย่างยั่งยืนในอนาคตได้

References

วิพรรณ ประจวบเหมาะ และคณะ. (2556). รายงานการศึกษาโครงการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานตามแผนผู้สูงอายุแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2545 - 2564) ระยะที่ 2 (พ.ศ.2550 - 2554). กรุงเทพมหานคร: วิทยาลัยประชากรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิราภรณ์ โพธิศิริ และคณะ. (2560). รายงานการศึกษา โครงการติดตามและประเมินผลแผนผู้สูงอายุแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2545-2564) ระยะที่ 3 (พ.ศ.2555-2559). กรุงเทพมหานคร: วิทยาลัยประชากรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Karl S. (2020). [online]. The Design Thinking Process – How does it work. [Retrieved December 21, 2021]. from https://www.maqe.com/insight/the-design-thinking-process-how-does-it-work/.

มะยุรีย์ พิทยาเสนีย์ และพิชญาภา ยวงสร้อย. (2564). การคิดเชิงออกแบบ: ครูนวัตกรวิถีใหม่. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง, 10(2), 80-92.

ปภาวิน ศรีพล. (2564). การประยุกต์ใช้กระบวนการการคิดเชิงออกแบบในการแก้ปัญหาชุมชนจากผักตบชวาโดยนำมาทำกระถางต้นไม้คอนกรีต. สารนิพนธ์วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการงานวิศวกรรม มหาวิทยาลัยสยาม, กรุงเทพมหานคร.

ชัยวุฒิ วัดจัง และคณะ. (2563). บล็อกยางปูพื้นสำหรับผู้สูงอายุ: ผลของสารหน่วงปฏิกิริยาการคงรูปต่อสมบัติของบล็อกยางปูพื้น. Science and Technology RMUTT Journal, 10(1), 47-60.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

28-12-2022