พุทธวิถีการบริหารการศึกษา โลกยุคผลิกผัน (VUCA World)

ผู้แต่ง

  • ธนาคาร คุ้มภัย วิทยาลัยเทคนิคฉะเชิงเทรา สถาบันการอาชีวศึกษาภาคกลาง 3
  • พระครูสิริธรรมาภิรัต มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยวิทยาเขตศรีธรรมาโศกราช
  • แสงอาทิตย์ เจ้งวัฒนพงศ์ วิทยาลัยพณิชยการเชตุพน สถาบันการอาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร

คำสำคัญ:

พุทธวิถี, บริหารการศึกษา, โลกพลิกผัน

บทคัดย่อ

“ความไม่แน่นอนคือสิ่งที่แน่นอน” นี่คือ ตรรกะแห่งพุทธพจน์ที่เป็นจริงเสมอ เพราะใดใดในโลกล้วนไม่จีรัง เปลี่ยนแปลงไปตามเหตุและปัจจัยต่าง ๆ ในปัจจุบันโลกและบริบทรอบตัวได้มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว และต่อเนื่อง ทั้งวิถีชีวิตสภาพแวดล้อม เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม การเปลี่ยนแปลงอย่างก้าวกระโดดของระบบเทคโนโลยี ซึ่งเปลี่ยนแปลงอย่างพลิกผัน สถานการณ์เหล่านี้ เรียกว่า "VUCA World" ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ส่งผลต่อผู้บริหารองค์กรและคนในยุคนี้อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ อย่างไรก็ตามแม้โลกจะหมุนไปเร็วสักเพียงใด แต่ธรรมะของพระพุทธองค์ยังคงเป็นหลักธรรมและเป็นปรัชญาในการดำเนินชีวิตให้กับมนุษย์ปุถุชนผู้ที่ยังคงใช้ชีวิต

บทความวิชาการฉบับนี้ได้นำธรรมะของพุทธองค์มาร้อยเรียงไว้ให้เข้ากับโลกในยุคพลิกผัน เพื่อเป็นประโยชน์ในการบริหารการศึกษาในยุคปัจุจบัน เริ่มต้นตั้งแต่ระบบการพัฒนาทุนมนุษย์ที่ด้วยหลักการใช้ไตรสิกขา นำไปสู่ วิถีธรรม วิถีทางสร้างการบริหารการศึกษาคุณภาพสูง โดยใช้หลักธรรมในการครองตน ครองคน ครองงาน และการบริหารการศึกษาที่รับมือกับความเปลี่ยนแปลงโดยใช้ พละ 4 ประกอบไปด้วย ปัญญาพละ วิริยพละ อนวัชชพละ และสังคหพละ ทั้งนี้การบริหารที่ผู้บริหารนำหลักธรรมทางพระพุทธศาสนามาประยุกต์ใช้ในการบริหารย่อมส่งผลต่อคุณภาพของการศึกษาในมิติต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้น แต่ทั้งนี้ผลลัพธ์และผลกระทบต่าง ๆ ของการปฏิบัติตามพระธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดีแล้วนั้น เป็นสิ่งที่ผู้บริหารจะต้องนำไปปฏิบัติจริงถึงจะสามารถเห็นพิสูจน์ผลได้อย่างชัดเจน เพราะธรรมะนั้นเป็นข้อปฏิบัติอันผู้บรรลุจะพึงเห็นเอง รวมทั้งพระธรรมนั้นไม่จำกัดกาลเวลา ไม่ขึ้นกับกาลเวลาอีกด้วย

References

พระเทพเวที (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). (2563). การศึกษาที่สากลบนพื้นฐานแห่งภูมิปัญญาไทย.กรุงเทพมหานคร: โครงการตำราและเอกสารทางวิชาการ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

นวพล โพธิ์เงิน. (2560). การบริหารการศึกษาตามหลักไตรสิกขากับทฤษฎีเชิงระบบ. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 4(1), 137-146.

ภาวิดา ธาราศรีสุทธิ และวิบูลย์ โตวณะบุตร. (2542). หลักและทฤษฎีการบริหารการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สำนักงานปฏิรูปการศึกษา. (2545). ปฏิรูปการศึกษา ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542.กรุงเทพมหานคร: บุญศิริการพิมพ์

ศศิมา สุขสว่าง. (2562). [ออนไลน์]. VUCA World ความท้าทายสำหรับผู้นายุคใหม่. [สืบค้นเมื่อวันที่ 18 กันยายน 2565]. จาก https://www.sasimasuk.com/16768188/vuca-world.

นรรัชต์ ฝันเชียร. (2562). [ออนไลน์]. การส่งเสริมการศึกษาไทยเพื่อรับมือกับโลกยุค VUCA. [สืบค้นเมื่อวันที่ 18 กันยายน 2565]. จาก https://www.trueplookpanya.com/blog/content/76134/-blog-teaartedu-teaart.

HR NOTE TEAM. (2565). [ออนไลน์]. VUCA ในโลกการทำงานสมัยใหม่: 4 เทคนิครับมือความไม่แน่นอนสำหรับผู้นำยุคใหม่. [สืบค้นเมื่อวันที่ 18 กันยายน 2565], จาก https://th.hrnote.asia/orgdevelopment/vuca-for-leader-in-future-work-03032021/.

สมพร ปานดำ. (2563). พลิกวิกฤตสู่โอกาสของอาชีวศึกษาไทยบนความปกติใหม่. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 5(7), 1-13.

สุพจน์ อิงอาจ. (2564). [ออนไลน์]. ผู้นำการศึกษายุค VUCA World. [สืบค้นเมื่อวันที่ 18 กันยายน 2565]. จาก https://www.matichon.co.th/education/news_2578997.

สุรพล ไกรสราวุฒิ. (2560). ไตรสิกขา: ระบบการศึกษาของพระพุทธเจ้า. กรุงเทพมหานคร: ธรรมสถาน สำนักบริหารศิลปวัฒนธรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

มัทนา วังถนอมศักดิ์ วรกาญจน์ สุขสดเขียว สายสุดา เตียเจริญ และพรพรรณ อินทรประเสริฐ. (2564). ผู้บริหารสถานศึกษากับการบริหารความเปลี่ยนแปลง. วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม, 13(2), 5-25.

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พัชราวลัย สังข์ศรี. (2561). พุทธวิธีกับการบริหารการศึกษา. วารสาร Veridian E Journal ฯ สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 11(1), 1260-1270.

พระมหาบุญเพียร ปุญฺญวิริโย. (2539). แนวคิดและวิธีการขัดเกลาทางสังคมในสถาบันครอบครัวตามแนวพระพุทธศาสนา. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, พระนครศรีอยุธยา.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-06-2023