ลีลาการเรียนรู้ของนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตร์อุตสาหกรรมบัณฑิต (คอบ.4 ปี) คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

ผู้แต่ง

  • ณัฐพงษ์ โตมั่น สาขาวิชาเทคนิคศึกษา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
  • รพีภรณ์ เบญจพิทักษ์ดิลก ฝ่ายวิชาการและวิจัย คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

คำสำคัญ:

ลีลาการเรียนรู้, หลักสูตรครุศาสตร์อุตสาหกรรมบัณฑิต

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาลีลาการเรียนรู้ของนักศึกษา หลักสูตรครุศาสตร์อุตสาหกรรมบัณฑิต (คอบ.4 ปี) คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี และ 2) เปรียบเทียบลีลาการเรียนรู้ของนักศึกษา หลักสูตรครุศาสตร์อุตสาหกรรมบัณฑิต (คอบ.4 ปี) คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี จำแนกตามชั้นปี และสาขาวิชา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักศึกษาหลักสูตรครุศาสตร์อุตสาหกรรมบัณฑิต (คอบ.4 ปี) คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ประจำปีการศึกษา 2565 จำนวน 221 คน คำนวณหาขนาดของกลุ่มตัวอย่างของเครจซี่และมอร์แกน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) และหากพบความแตกต่างทางสถิติจะทำการทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่ใช้วิธีการทดสอบของเชฟเฟ่ (Scheffe)

ผลการวิจัยพบว่า 1) ลีลาการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ลีลาการเรียนรู้อยู่ในระดับมาก คือ แบบพึ่งพา แบบร่วมมือ แบบมีส่วนร่วม แบบแข่งขัน แบบอิสระ ส่วนลีลาการเรียนรู้ในระดับปานกลาง คือ แบบหลีกเลี่ยง 2) การเปรียบเทียบลีลาการเรียนรู้ของนักศึกษา หลักสูตรครุศาสตร์อุตสาหกรรมบัณฑิต (คอบ.4 ปี) คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี จำแนกตามชั้นปี พบว่า โดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน ส่วนลีลาการเรียนรู้จำแนกตามสาขาวิชา พบว่า โดยรวมไม่แตกต่างกัน เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า นักศึกษาสาขาวิศวกรรมเครื่องกล และนักศึกษาสาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ มีลีลาการเรียนรู้แบบหลีกเลี่ยงแตกต่างกัน ส่วนคู่อื่น ๆ ไม่มีความแตกต่างกัน

References

รัตติกร ภิรมย์โคร่ง. (2563). ลีลาการเรียนรู้และการใช้แหล่งเรียนรู้ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนวัดไร่ขิงวิทยา. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาตลอดชีวิตและการพัฒนามนุษย์ แผน ก แบบ ก 2 ภาควิชาการศึกษาตลอดชีวิต มหาวิทยาลัยศิลปากร, กรุงเทพมหานคร.

สุรางค์ โค้วตระกูล. (2559). จิตวิทยาการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ยุพาภรณ์ ติรไพรวงศ์ เสมอจันทร์ ธีระวัฒน์สกุล ศรีสุนทรา เจิมวรพิพัฒน์ และพัชรี วัฒนชัย. (2560). การพัฒนาการจัดการเรียนการสอนแบบร่วมมือโดยใช้รูปแบบการเรียนรู้ VARK ต่อความรู้และความสุขในการเรียนของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์. วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล, 33(2), 1-13.

ประสาร ศรีพงษ์เพลิด. (2560). สไตล์การเรียนรู้กับสไตล์การสอน. วารสารสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยทักษิณ, 6, 64-86.

ศักดิ์คเรศ ประกอบผล. (2563). การวิเคราะห์ผู้เรียน: ลีลาการเรียนรู้. วารสารครุศาสตร์สาร, 14(2), 1-14.

วิเชษฐ์ นันทะศรี และจรัญ แสนราช. (2564). การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันของรูปแบบการเรียนรู้ของนักศึกษาที่เรียนสาขาวิชาเอกคอมพิวเตอร์ ระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัยราชภัฏเลย. วารสารวิชาการครุศาสตร์อุตสาหกรรม พระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 12(1), 101-107.

ภาสพงศ์ ผิวพอใช้. (2560). การศึกษาลีลาการเรียนรู้ภาษาญี่ปุ่นของนักศึกษาหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาญี่ปุ่นและการสื่อสาร คณะศิลปะศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. วารสารวิชาการ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร, 1(2), 140-150.

สิตานันท์ ศรีวรรธนะ. (2556). การศึกษาลีลาการเรียนรู้ของนักศึกษาที่เรียนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศ มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์. สารนิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศ มหาวิทยาลัยนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพมหานคร.

วันดี วงศ์รัตนรักษ์ และกุลฤดี จิตตยานันต์. (2556). รูปแบบการเรียนของนักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จักรีรัช. วารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล, 19(2), 60-72.

ศิริพร พึ่งเพ็ชร. (2559). การศึกษาลีลาการเรียนรู้ของนักศึกษาสหวิทยาการท้องถิ่นที่เรียนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารและทักษะการเรียน มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ. การประชุมวิชาการและเสนอผลงานวิจัย ระดับชาติ ครั้งที่ 3 ก้าวสู่ทศวรรษที่ 2: บูรณาการงานวิจัย ใช้องค์ความรู้ สู่ความยั่งยืน วิทยาลัยนครราชสีมา, นครราชสีมา.

อภินันท์ สิริรัตนจิตต์ และยุวัลดา ชูรักษ์. (2556). รูปแบบการเรียนรู้ของนักศึกษาคณะศิลปะศาสตร์และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่. การประชุมหาดใหญ่วิชาการ ครั้งที่ 4 เรื่อง การวิจัยเพื่อพัฒนาสังคมไทย, สงขลา.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-12-2023