การพัฒนาเครื่องสลัดน้ำมันสำหรับอาหารทอด

ผู้แต่ง

  • ศักดิ์ชาย หย่งกิจ แผนกวิชาช่างไฟฟ้ากำลัง วิทยาลัยเทคนิคสารภี
  • นิพนธ์ หย่งกิจ วิทยาลัยเทคนิคสารภี
  • ธวัช แก้วศรีพจน์ วิทยาลัยเทคนิคสารภี
  • กัลยารัตน์ สุริยะธรรม แผนกวิชาช่างยนต์ วิทยาลัยเทคนิคสารภี
  • พิเชษฐ จุลพันธ์ แผนกวิชาช่างยนต์ วิทยาลัยเทคนิคสารภี

คำสำคัญ:

น้ำมัน, อาหารทอด, การพัฒนาเครื่องสลัดน้ำมันสำหรับอาหารทอด

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) การพัฒนาเครื่องสลัดน้ำมันสำหรับอาหารทอด 2) ศึกษาประสิทธิภาพการพัฒนาเครื่องสลัดน้ำมันสำหรับอาหารทอด และ 3) ศึกษาความพึงพอใจการพัฒนาเครื่องสลัดน้ำมันสำหรับอาหารทอด โดยศึกษาจากน้ำมันที่ตกค้างในอาหารทอด เช่น ไก่ทอด กล้วยทอด มันทอด ลูกชิ้นทอด กลุ่มผู้ให้ข้อมูล คือ พ่อค้าแม่ค้าที่ขายอาหารประเภททอด และครูวิทยาลัยเทคนิคสารภี รวมจำนวน 30 คน ใช้วิธีคัดเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญการพัฒนาเครื่องสลัดน้ำมันสำหรับอาหารทอด แบบบันทึกผลการศึกษาประสิทธิภาพของเครื่องสลัดน้ำมันสำหรับอาหารทอด และแบบบันทึกผลประเมินความพึงพอใจการใช้งานของผู้ใช้เครื่องสลัดน้ำมันสำหรับอาหารทอด วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลด้านการพัฒนาเครื่องสลัดน้ำมันสำหรับอาหารทอดโดยผู้เชี่ยวชาญโดยรวมอยู่ในระดับมาก 2) ผลด้านประสิทธิภาพการพัฒนาเครื่องสลัดน้ำมันสำหรับอาหารทอด พบว่า กล้วยทอดได้ปริมาณน้ำมันที่สลัดออกมาเพิ่มขึ้นมากที่สุด 13 กรัม (ร้อยละ 4.06) รองลงมาคือ มันทอดได้ปริมาณน้ำมันที่สลัดออกมาเพิ่มขึ้น 7 กรัม (ร้อยละ 2.45) ไก่ทอดได้ปริมาณน้ำมันที่สลัดออกมาเพิ่มขึ้น 1.79 กรัม (ร้อยละ 0.93) ลูกชิ้นทอดได้ปริมาณน้ำมันที่สลัดออกมาเพิ่มขึ้น 2 กรัม (ร้อยละ 0.5) และ 3) ผลด้านความพึงพอใจการพัฒนาเครื่องสลัดน้ำมันสำหรับอาหารทอดโดยรวมอยู่ในระดับมาก

References

ขนิษฐา อินทร์ประสิทธิ์ และปัญจ์ยศ มงคลชาติ. (2557). สาระน่ารู้: การบริโภคอาหารทอดที่ใช้น้ำมันทอดซ้ำ. กรุงเทพมหานคร: สำนักเทคโนโลยีชุมชน กรมวิทยาศาสตร์บริการ.

นันทิรา หงส์ศรีสุวรรณ์. (2558). อันตรายจากน้ำมันทอดซ้ำ. วารสารวิชาการและวิจัย มทร.พระนคร สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 9(1), 163-175.

เบ็ญจรัก วายุภาพ และคณะ. (2551). การเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติทางกายภาพและเคมีของน้ำมันที่ใช้ทอดซ้ำสำหรับผลิตภัณฑ์อาหารทอดประเภทต่างๆ. วารสารอาหาร, 38(1), 65-73.

นักสิทธิ์ ปัญโญใหญ่ และปิลันธสุทธิ์ สุวรรณเลิศ. (2551). แนวทางการจัดการใช้น้ำมันทอดอาหารตามโครงการอาหารปลอดภัย เพื่อผู้บริโภคของกลุ่มผู้ผลิตและจำหน่ายอาหารในโรงอาหารมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. วารสารวิจัยราชภัฏเชียงใหม่, 10(1), 11-21.

กระทรวงสาธารณสุข สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา. (2547). ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 283) พ.ศ.2547 เรื่อง กําหนดปริมาณสารโพลาร์ ในน้ำมันที่ใช้ทอดหรือประกอบอาหารเพื่อจําหน่าย. กรุงเทพมหานคร: สำนักงาน.

ไวพจน์ ศรีธัญ. (2563). การควบคุมมอเตอร์ไฟฟ้า. กรุงเทพมหานคร: วังอักษร.

อุทัย ผ่องรัศมี และเสนีย์ ศิริไชย. (2562). การพัฒนาเครื่องสลัดน้ำมันของอาหารประเภททอดสำหรับครัวเรือน. วารสารวิทยาศาสตร์ มข., 47(4), 642-651.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

28-12-2022