การพัฒนาผลิตภัณฑ์เปลือกแก้วมังกรแผ่นกรอบ

ผู้แต่ง

  • สุทธิพงศ์ ยศสุวรรณ์ สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์
  • ชนิรัตน์ ผึ่งบรรหาร สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์

คำสำคัญ:

เปลือกแก้วมังกร, งาดำ, ผงปรุงรส, อาหารแผ่นกรอบ, ขนมขบเคี้ยว

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ผลของปริมาณงาดำต่อคุณภาพของผลิตภัณฑ์เปลือกแก้วมังกรแผ่นกรอบ 2) ชนิดของผงปรุงรสต่อการยอมรับผลิตภัณฑ์เปลือกแก้วมังกรแผ่นกรอบของผู้บริโภค 3) องค์ประกอบทางเคมีและพลังงานที่ได้รับทั้งหมดของผลิตภัณฑ์เปลือกแก้วมังกรแผ่นกรอบเสริมงาดำ โดยเตรียมผลิตภัณฑ์เปลือกแก้วมังกรแผ่นกรอบที่มีปริมาณงาดำแตกต่างกัน 4 ระดับ ได้แก่ สูตรที่ 1 ไม่เสริมงาดำ สูตรที่ 2, 3 และ 4 เสริมงาดำ ร้อยละ 1, 1.5 และ 2 ตามลำดับ โดยคิดเป็นร้อยละของน้ำหนักเปลือกแก้วมังกรต้มสุกปั่นละเอียด จากนั้นนำมาศึกษาสมบัติทางกายภาพและเคมี ได้แก่ ค่าสี (L*, a* และ b*) ค่า pH และ ค่าวอเตอร์แอกทิวิตี (aw) และการยอมรับทางประสาทสัมผัส แล้วนำผลที่ได้ไปคัดเลือกสูตรที่เหมาะสมเพื่อศึกษาชนิดของผงปรุงรสต่อการยอมรับของผู้บริโภค โดยมีผู้ทดสอบจำนวน 40 คน เป็นนักศึกษาและอาจารย์สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ และศึกษาคุณค่าทางโภชนาการ ได้แก่ ความชื้น เถ้า โปรตีน ไขมัน ใยอาหาร คาร์โบไฮเดรต และพลังงานที่ได้รับทั้งหมด

ผลการศึกษาพบว่า ปริมาณงาดำ มีผลต่อสมบัติทางกายภาพและเคมีของผลิตภัณฑ์เปลือกแก้วมังกรแผ่นกรอบ โดยปริมาณงาดำที่มากขึ้นส่งผลให้ค่าสี (L*, a* และ b*) มีค่าลดลง ในขณะที่ค่า pH และ ค่าวอเตอร์แอกทิวิตี (aw) นั้นมีค่าเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) การประเมินคุณลักษณะทางประสาทสัมผัส พบว่า สูตรที่ 3 เสริมงาดำร้อยละ 1.5 ได้คะแนนความชอบในด้านสี กลิ่นรส รสชาติ และความชอบโดยรวมสูงที่สุด ผู้บริโภคให้การยอมรับผลิตภัณฑ์เปลือกแก้วมังกรแผ่นกรอบที่ใช้ผงปรุงรส รสปาปริก้า มากที่สุด โดยมีค่าคะแนนการยอมรับในด้านสี กลิ่นรส รสชาติ ความกรอบ และความชอบโดยรวมที่ระดับความชอบปานกลางถึงชอบมาก ผลิตภัณฑ์เปลือกแก้วมังกรแผ่นกรอบเสริมงาดำ ในน้ำหนัก 100 กรัม มีปริมาณความชื้น 2.98 กรัม เถ้า 7.88 กรัม โปรตีน 5.64 กรัม ไขมัน 26.29 กรัม ใยอาหาร 23.73 กรัม และคาร์โบไฮเดรต 33.48 กรัม และให้พลังงานทั้งหมด 393.09 กิโลแคลอรี

References

สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กองนโยบายการสร้างความเข้มแข็งทางการค้า กลุ่มพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก. (2564). [ออนไลน์]. วิเคราะห์สถานการณ์เศรษฐกิจการค้าไทยรายภูมิภาค ประจำเดือนมิถุนายน 2564. [สืบค้นเมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2565]. จาก http://www.tpso.moc.go.th/sites/default/files/wiekhraaahsthaankaarnesrsthkicchkaarkhaaraayphuumi_mithunaayn_64_0.pdf.

กฤติยา ไชยนอก. (2559). [ออนไลน์]. แก้วมังกร ผลไม้ชื่อมงคล. จุลสารข้อมูลสมุนไพร, 33(4), 3-15.

กัณฐวุฒิ บุญมี. (2562). [ออนไลน์]. การใช้เปลือกแก้วมังกร (Hylocereus undatus) ทดแทนหนังหมูและสารไนเตรทในผลิตภัณฑ์แหนม. งานประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยรังสิตประจำปี 2562. [สืบค้นเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2564]. จาก https://rsucon.rsu.ac.th/files/proceedings/nation2019/NA19-033.pdf.

พิชชาภา โอจงเพียร พาณี ปิมปา และเพ็ญศักดิ์ จันทราวุธ. (2560). การพัฒนามาสก์ใต้ตาที่มีสารสกัดจากเปลือกแก้วมังกร. วารสารเกษตร, 33(3), 415-425.

ชนิรัตน์ ผึ่งบรรหาร กฤษณา เกตุคำ การันต์ ผึ่งบรรหาร และอมรรัตน์ สิริอนันตระกูล. (2564). การพัฒนาผลิตภัณฑ์น้ำพริกผัดเปลือกแก้วมังกร. รายงานสืบเนื่องจากการประชุมทางวิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 4 พ.ศ. 2564 มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, บุรีรัมย์.

ชนิรัตน์ ผึ่งบรรหาร การันต์ ผึ่งบรรหาร และธเนศ เรืองเดช. (2564). การผลิตเปลือกแก้วมังกรแผ่นรสบ๊วย. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 15(3), 116-130.

พฤหัส เหมรังคะ. (2554). การพัฒนาผลิตภัณฑ์ขนมขาไก่รสงาดำ: กรณีศึกษา บริษัท ขาไก่ จำกัด. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชายุทธศาสตร์การพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์, ฉะเชิงเทรา.

ศลิษา ศรีสุข และจันทร์เพ็ญ ไชยนุ้ย. (2562). ศึกษาชนิดของเครื่องปรุงรสต่อคุณภาพผลิตภัณฑ์ข้าวเกรียบปลาแผ่นอบกรอบ. วารสารวิชาการสถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 1, 4(1), 119-126.

มูลนิธิหมอชาวบ้าน. (2561). [ออนไลน์]. การล้างผัก. [สืบค้นเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2564]. จาก https://www.thaihealth.or.th/การล้างผัก/.

Ibrahim, A., et al. (2011). Fundamental Elements to Produce Sesame Yoghurt from Sesame Milk. American Journal of Applied Sciences, 8(11), 1086-1092.

กระทรวงอุตสาหกรรม สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม. (2558). [ออนไลน์]. มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช. 136/2558) ผักและผลไม้แห้ง. [สืบค้นเมื่อวันที่ 5 เมษายน 2565]. จากhttp://tcps.tisi.go.th/pub/tcps0136_58(ผักและผลไม้แห้ง).pdf.

อุไรวรรณ วัฒนกุล วัฒนา วัฒนกุล และนพรัตน์ มะเห. (2562). ผลการอบแห้งและการทอด ต่อการเปลี่ยนแปลงสารอาหารในผลิตภัณฑ์จากสาหร่ายพวงองุ่น (C. Lentillifera). การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยทักษิณ ครั้งที่ 29 ประจำปี 2562 มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง สถาบันวิจัยและพัฒนา, พัทลุง.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

28-12-2022