การพัฒนาแหล่งเรียนรู้ออนไลน์เรื่องศาสตร์พระราชา สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย

ผู้แต่ง

  • นันทพร ดอนจันทร์เขียว คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
  • ธนสาร เพ็งพุ่ม คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
  • อารีย์ วรรณชัย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

คำสำคัญ:

แหล่งเรียนรู้ออนไลน์, ศาสตร์พระราชา

บทคัดย่อ

งานวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเพื่อศึกษาแหล่งเรียนรู้ออนไลน์เรื่องศาสตร์พระราชา สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย เป็นการศึกษาตามกระบวนการของการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาขอบเขตเนื้อหาของศาสตร์พระราชา สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย 2) เพื่อศึกษาความต้องการแหล่งเรียนรู้ออนไลน์ เรื่องศาสตร์พระราชา สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย 3) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของแหล่งเรียนรู้ออนไลน์ เรื่องศาสตร์พระราชา สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย ตามเกณฑ์ 80/80 4) เพื่อทดลองใช้แหล่งเรียนรู้ออนไลน์ เรื่องศาสตร์พระราชา สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย 4.1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนที่เรียนโดยใช้แหล่งเรียนรู้ออนไลน์ เรื่องศาสตร์พระราชา สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย 4.2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อแหล่งเรียนรู้ออนไลน์ เรื่องศาสตร์พระราชา 4.3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้ออนไลน์ เรื่องศาสตร์พระราชา ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนบ้านคลองแขยงวิทยา อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร จำนวน 51 คน สถิติที่ใช้การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที

ผลการวิจัยพบว่า 1) ขอบเขตเนื้อหาของศาสตร์พระราชามีความเหมาะสมสำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย และมีความสอดคล้องตรงตามหลักสูตร 2) ความต้องการแหล่งเรียนรู้ออนไลน์ เรื่องศาสตร์พระราชา สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลายอยู่ในระดับมากที่สุด 3) ประสิทธิภาพของแหล่งเรียนรู้ออนไลน์ เรื่องศาสตร์พระราชา สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย มีค่าเท่ากับ 81.86/82.55 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานที่ตั้งไว้คือ 80/80 4) การทดลองใช้แหล่งเรียนรู้ออนไลน์ เรื่องศาสตร์พระราชา สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย 4.1) นักเรียนที่ได้เรียนกับแหล่งเรียนรู้ออนไลน์เรื่องศาสตร์พระราชา สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4.2) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อแหล่งเรียนรู้ออนไลน์ เรื่องศาสตร์พระราชา สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย ในระดับมากที่สุด 4.3) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้ออนไลน์เรื่องศาสตร์พระราชา สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย ในระดับมากที่สุด

References

วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิสดศรีสฤษดิ์วงศ์.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงศึกษาธิการ.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2560-2579. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงศึกษาธิการ.

สุเมธ ตันติเวชกุล. (2560). [ออนไลน์]. ศาสตร์พระราชาสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน. [สืบค้นเมื่อวันที่ 10 มกราคม 2562]. จาก https://sites.google.com/site/sastrphraracha2513/.

วรธันย์ เทคโนโลยี. (2019). [ออนไลน์]. การเรียนการสอนออนไลน์ คือ. [สืบค้นเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2565]. จาก https://www.worathan.co.th/.

อัจฉรา เจตบุตร. (2550). การพัฒนาบทเรียนสื่อประสม เรื่อง การเขียนสะกดคำสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 5(1), 157-168.

รุ่งนภา จันทรเสนา. (2559). การพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิ่ง (e-Learning) เรื่อง ผลิตภัณฑ์ในชีวิตประจำวัน โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล, 2(2), 1-13.

วัลลภ ใหญ่เลิศ. (2556). การพัฒนาสื่อประสมฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์วิชาภาษาอังกฤษ โดยการเรียนแบบแบ่งกลุ่มสัมฤทธิ์ สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, บุรีรัมย์.

พระมหากิตติศักด์ิ ไมตรีจิต. (2562). การพัฒนาแหล่งการเรียนรู้ออนไลน์มรดกความทรงจา แห่งโลกของวัดพระเชตุพน เพื่อการศึกษาตามอัธยาศัย. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสยาม, กรุงเทพมหานคร.

ดรุณนภา นาชัยฤทธิ์. (2562). การพัฒนาการเรียนการสอนบนบทเรียนออนไลน์ด้วยเทคนิคการเรียนรู้แบบกรณีศึกษาเพื่อส่งเสริมการคิดแก้ปัญหาของนักศึกษาครู. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

ขวัญชัย ขัวนา ธารทิพย์ ขัวนา และเลเกีย เขียวดี. (2559). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา (สกสค.).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

28-12-2022