สภาพปัจจุบันและความต้องการจำเป็นในการบริหารงานบุคคลของวิทยาลัยสารพัดช่างสุราษฎร์ธานี

ผู้แต่ง

  • จุฑามาศ เมืองดี วิทยาลัยสารพัดช่างสุราษฎร์ธานี

คำสำคัญ:

การบริหารงานบุคคล, การประเมินความต้องการจำเป็น, วิทยาลัยสารพัดช่างสุราษฎร์ธานี

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความคิดเห็นของครูและบุคลากรทางการศึกษาต่อสภาพปัจจุบันและความต้องการจำเป็นในการบริหารงานบุคคลของวิทยาลัยสารพัดช่างสุราษฎร์ธานี 2) ศึกษาความต้องการจำเป็นในการบริหารงานบุคคลของวิทยาลัยสารพัดช่างสุราษฎร์ธานี และ 3) ศึกษาแนวทางในการพัฒนาการบริหารงานบุคคลของวิทยาลัยสารพัดช่างสุราษฎร์ธานี ประชากรที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ครูและบุคลากรทางการศึกษาวิทยาลัยสารพัดช่างสุราษฎร์ธานี สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 52 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามความคิดเห็นของครูต่อสภาพปัจจุบันและความต้องการจำเป็นในการบริหารงานบุคคลของวิทยาลัยสารพัดช่างสุราษฎร์ธานี และแบบบันทึกข้อมูลการสนทนากลุ่มซึ่งเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาการบริหารงานบุคคลของวิทยาลัยสารพัดช่างสุราษฎร์ธานี วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัย พบว่า ความคิดเห็นของครูและบุคลากรทางการศึกษาต่อสภาพปัจจุบันในการบริหารงานบุคคลของวิทยาลัยสารพัดช่างสุราษฎร์ธานีโดยรวมอยู่ในระดับมาก และมีความต้องการจำเป็นโดยรวมอยู่ในระดับมากเช่นกัน ซึ่งเมื่อพิจารณาค่าดัชนีลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็น (PNImodified) โดยภาพรวมความต้องการจำเป็นในการบริหารงานบุคคลของวิทยาลัยสารพัดช่างสุราษฎร์ธานี มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ  0.153 และความต้องการจำเป็นในการบริหารงานบุคคล 3 ลำดับแรก ได้แก่ ด้านการวางแผนกำลังคนและกำหนดตำแหน่ง ด้านการธำรงรักษาบุคคล และด้านการสรรหาและบรรจุแต่งตั้งตามลำดับ สำหรับแนวทางในการพัฒนาการบริหารงานบุคคลของวิทยาลัยสารพัดช่างสุราษฎร์ธานีผู้ทรงคุณวุฒิเห็นว่าในการพัฒนาการบริหารงานด้านบุคลากรวิทยาลัยควรกำหนดแนวทางการบริหารตั้งแต่ด้านการวางแผนกำลังคนและกำหนดตำแหน่ง ด้านการสรรหาและบรรจุแต่งตั้ง ด้านการธำรงรักษาบุคคล ด้านการประเมินผลการปฏิบัติงาน และด้านการพัฒนาบุคลากร ให้สอดคล้องซึ่งกันและกันและดำเนินการอย่างเป็นระบบ มีการกำหนดแผนแม่บท มีคู่มือการบริหารงานบุคลากร และใช้กระบวนการ PDCA มาประกอบในการบริหารจัดการ

References

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553. (2553, 22 กรกฎาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 127 ตอนที่ 45 ก. 1-3.

ภารดี อนันต์นาวี. (2551). หลักการแนวคิดทฤษฎีทางการบริหารการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 4). ชลบุรี: มนตรี.

พรพรรณ อินทรประเสริฐ. (2550). องค์ประกอบการบริหารการศึกษาขั้นพื้นฐานในทศวรรษหน้า. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร, กรุงเทพมหานคร.

งานบุคลากรวิทยาลัยสารพัดช่างสุราษฎร์ธานี. (2563). รายงานผลการปฏิบัติงานบุคลากร ปีการศึกษา 2563. สุราษฎร์ธานี: วิทยาลัยสารพัดช่างสุราษฎร์ธานี.

สุธี ไทยเกิด. (2563). การประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสมรรถนะของครูวิทยาลัยเทคนิคสุราษฎร์ธานี เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. วารสารวิชาการสถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 1, 5(2), 14-25.

ศิรินภาวรรณ ทุมคำ. (2559). การศึกษาสภาพและปัญหาการบริหารงานบุคคลในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา, นครศรีอยุธยา.

ณัฐนิช ศรีลาคำ. (2558). การบริหารงานบุคคลในโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี, กาญจนบุรี.

พิมพ์พัฑรา สินธุรัตน์. (2558). การบริหารงานด้านทรัพยากรบุคคล กรณีศึกษา: วิทยาลัยเทคโนโลยีตะวันออก (อี.เทค.). วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสยาม, กรุงเทพมหานคร.

จารุวรรณ แดงมา. (2564). [ออนไลน์]. สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของครูที่มีต่อการบริหารจัดการเพื่อเสริมสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) วิทยาลัยอาชีวศึกษาสุราษฎร์ธานี. [สืบค้นเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2564]. จาก http://www.svc.ac.th/th/images/Files/Academy/Jaruwanya.pdf.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

26-06-2022