การจัดการเรียนการสอนออนไลน์ช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดไวรัสโคโรนา 2019 สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี เทคโนโลยีบัณฑิต (ทล.บ) ของวิทยาลัยอาชีวศึกษาชลบุรี จังหวัดชลบุรี

ผู้แต่ง

  • จุรี ทัพวงษ์ สาขาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น

คำสำคัญ:

การจัดการเรียนการสอนออนไลน์, สถานการณ์การแพร่ระบาดไวรัสโคโรนา 2019

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพความพร้อมในการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดไวรัสโคโรนา 2019 2) ศึกษาความพึงพอใจของอาจารย์ผู้สอน ที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษา ที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 4) เปรียบเทียบความคิดเห็นของอาจารย์ผู้สอน ที่มีต่อสภาพความพร้อมในการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ จำแนกตามสาขาวิชาและประสบการณ์ในการสอน 5) เปรียบเทียบความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ จำแนกตามสาขาวิชา การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูล โดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบค่าที (t-test) และวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (ANOVA)

ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพความพร้อมในการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ ภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) ความพึงพอใจของอาจารย์ผู้สอน ที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ ภาพรวมอยู่ในระดับมาก 3) ความพึงพอใจของนักศึกษา ที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ ภาพรวมอยู่ในระดับมาก 4) เปรียบเทียบความคิดเห็นของอาจารย์ผู้สอน ที่มีต่อสภาพความพร้อมในการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ จำแนกตามสาขาวิชาและประสบการณ์ในการสอน ทุกด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 5) เปรียบเทียบความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ จำแนกตามสาขาวิชา ทุกด้านไม่แตกต่างกัน

References

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560–2579. กรุงเทพมหานคร: สำนักงาน.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2554). การศึกษาความต้องการกำลังคนเพื่อวางแผนการผลิตและพัฒนากำลังคนของประเทศ. กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค.

สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2564). มาตรการป้องกันและควบคุมศถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019. ประกาศสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาณ วันที่ 14 เมษายน 2564. กรุงเทพมหานคร: สำนักงาน.

ณิรดา เวชญาลักษณ์. (2561). หลักการจัดการเรียนรู้. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.

ปิยะวรรณ ปานโต. (2563). การจัดการเรียนการสอนของไทยภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID–19). กรุงเทพมหานคร: สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร สถานีวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์รัฐสภา.

ภักดี ธุระเจน. (2561). บทสัมภาษณ์ ดร.สุเทพ ชิตยวงษ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. วารสารวิชาการสถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 1, 3(2), 3-6.

วิทยา วาโย อภิรดี เจริญนุกูล ฉัตรสุดา กานกายันต์ และจรรยา คนใหญ่. (2563). การเรียนการสอนแบบออนไลน์ภายใต้สถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัส COVID-19: แนวคิดและการประยุกต์ใช้จัดการเรียนการสอน. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9: วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม, 14(34), 285-298.

Baker, Credence. (2010). The Impact of Instructor Immediacy and Presence for Online Student Affective Learning, Cognition, and Motivation. The Journal of Educators Online, 7(1), 1-30.

ทรงพล วงษ์กาญจนกุล. (2563). ความท้าทายในการสอนออนไลน์ของระดับประถมศึกษา: กรณีศึกษาครู โรงเรียนรุ่งอรุณ. วิทยานิพนธ์หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสยาม, กรุงเทพมหานคร.

ประยุทธ รัตนปัญญา. (2554). ศึกษาสภาพและปัญหาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการเรียนการสอนของครู สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาในจังหวัดอุดรธานี. ปริญญานิพนธ์ครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี, กรุงเทพมหานคร.

อภินันท์ สิริรัตนจิตต์ และยุวัลดา ชูรักษ์. (2556). รูปแบบการเรียนรู้ของนักศึกษาคณะศิลปศาสตร์และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่. การประชุมหาดใหญ่วิชาการ ครั้งที่ 4 “การวิจัยเพื่อพัฒนาสังคมไทย” วันที่ 10 พฤษภาคม 2556 หน้า 435-440. สงขลา: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

26-06-2022