กลยุทธ์การบริหารจัดการสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมของวิทยาลัยเทคนิคสุราษฎร์ธานี เพื่อพัฒนาศักยภาพสู่วิทยาลัยนวัตกรรม

ผู้แต่ง

  • สิรวิชญ์ ธนเศรษฐ์วงศ์ วิทยาลัยเทคนิคสุราษฎร์ธานี

คำสำคัญ:

กลยุทธ์, การบริหารจัดการสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรม, วิทยาลัยนวัตกรรม

บทคัดย่อ

การวิจัยการสร้างการบริหารจัดการสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมของวิทยาลัยเทคนิคสุราษฎร์ธานีเพื่อพัฒนาศักยภาพสู่วิทยาลัยนวัตกรรมนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์   2) สร้างและตรวจสอบคุณภาพกลยุทธ์ 3) ทดลองใช้กลยุทธ์ และ 4) ประเมินผลการใช้กลยุทธ์ ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย ครู วิทยาลัยเทคนิคสุราษฎร์ธานี ปีการศึกษา 2562 จำนวน 144 คน ผู้ให้ข้อมูลในการสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ 15 คน กลุ่มผู้ให้ข้อมูลในการตรวจสอบคุณภาพของกลยุทธ์ 9 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบสอบถาม แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม แบบรายงานผลสัมฤทธิ์ และแบบรายงานผล วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสถิติ t-test และการวิเคราะห์เนื้อหา

          ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์การบริหารจัดการสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมของวิทยาลัยเทคนิคสุราษฎร์ธานี เพื่อพัฒนาศักยภาพสู่วิทยาลัยนวัตกรรม จากการวิเคราะห์สภาวะแวดล้อมภายใน สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์อยู่ในระดับมาก และจากการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอกโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนสภาพที่พึงประสงค์โดยรวมอยู่ในระดับมาก 2) การสร้างกลยุทธ์การบริหารจัดการสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมของวิทยาลัยเทคนิคสุราษฎร์ธานี เพื่อพัฒนาศักยภาพสู่วิทยาลัยนวัตกรรม ประกอบด้วย 5 ประเด็นกลยุทธ์ 14 กลยุทธ์ และผลตรวจสอบคุณภาพกลยุทธ์การบริหารจัดการสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมของวิทยาลัยเทคนิคสุราษฎร์ธานี เพื่อพัฒนาศักยภาพสู่วิทยาลัยนวัตกรรม ความเหมาะสม ความถูกต้อง ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 3) การทดลองใช้กลยุทธ์การบริหารจัดการสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมของวิทยาลัยเทคนิคสุราษฎร์ธานี เพื่อพัฒนาศักยภาพสู่วิทยาลัยนวัตกรรม ดำเนินการจำนวน 5 ประเด็นกลยุทธ์ 14 กลยุทธ์ ส่วนใหญ่อยู่ในระดับมาก สำหรับประเด็นกลยุทธ์ที่ 4 อยู่ในระดับมากที่สุด และ 4) การประเมินผลการใช้กลยุทธ์การบริหารจัดการสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมของวิทยาลัยเทคนิคสุราษฎร์ธานี เพื่อพัฒนาศักยภาพสู่วิทยาลัยนวัตกรรม มีผลสัฤทธิ์ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ทุกรายการประเมิน และเมื่อศึกษาความพึงพอใจของครูที่มีต่อการใช้กลยุทธ์การบริหารจัดการสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมของวิทยาลัยเทคนิคสุราษฎร์ธานี เพื่อพัฒนาศักยภาพสู่วิทยาลัยนวัตกรรม ภาพรวมอยู่ในระดับดี

References

ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561 - 2680). (13 ตุลาคม 2561). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 135 ตอนที่ 82 ก. 1-71.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. สำนักนายกรัฐมนตรี. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 - 2564). กรุเทพมหานคร: สำนัก.

สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ. (2559). นโยบายและยุทธศาสตร์การวิจัยแห่งชาติ ฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2560 – 2564). กรุงเทพมหานคร: สำนักงาน.

ไทยบุญยงค์ พ่วงพีอภิชัย สุนทรี ดวงทิพย์ และเพชรา สีบุดทา. (2558). พัฒนากลยุทธ์การบริหารศูนย์ควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลงที่ 9.2 จังหวัดเพชรบูรณ์. วารสารวิชาการเครือข่ายบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ, ปีที่ 5 ฉบับพิเศษ กรกฎาคม 2558, 103-116.

บุศรา สาระเกษ. (2555). แนวทางการพัฒนาระบบ กลไก การบริหารจัดการงานวิจัยของมหาวิทยาลัยราชภัฏ. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (สถิติประยุกต์) คณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, กรุงเทพมหานคร.

ประทีป ทับโทน ศักดา สถาพรวจนา และอรสา จรูญธรรม. (2563). กลยุทธ์การบริหารสถานศึกษาด้วยความรับผิดชอบต่อสังคมของสถานศึกษาสังกัดเทศบาล. วารสารการบริหารและนวัตกรรมการศึกษา, ปีที่ 3 ฉบับที่ 3 กันยายน-ธันวาคม 2563, 64-84.

สมชัย วงษ์นายะ และทวนทอง เชาวกีรติพงศ์. (2559). การพัฒนาแผนกลยุทธ์การพัฒนาคุณภาพการศึกษาสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร. สักทอง : วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (สทมส.), ปีที่ 22 ฉบับที่ 1 มกราคม-เมษายน 2559, 41-56.

สุภาพร พงศ์ภิญโญโอภาส ทวนทอง เชาวกีรติพงศ์ และเรขา อรัญวงศ์. (2556). การพัฒนากลยุทธ์การบริหารงานวิจัยของมหาวิทยาลัยราชภัฏในกลุ่มภาคเหนือตอนล่าง. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, ปีที่ 15 ฉบับที่ 2 เมษายน-มิถุนายน 2556, 67-79.

ณรงค์ชัย เจริญรุจิทรัพย์. (2564). การขับเคลื่อนการวิจัยและพัฒนาสู่อาชีวศึกษาฐานความรู้ด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยี. วารสารวิชาการสถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 1, ปีที่ 6 ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน 2564, 3-8.

พรสุดา ฮวบอินทร์ และปริญญา มีสุข. (2560). ผลการพัฒนาครูตามโครงการพัฒนาครูด้วยการสร้างระบบพี่เลี้ยง Coaching and Mentoring ที่มีผลต่อประสิทธิผล ของสถานศึกษาตามการรับรู้ของครู : กรณีศึกษาสถานศึกษา มัธยมศึกษา จังหวัดปทุมธานี, วารสาร Veridian E-Journal Silpakorn University ฉบับภาษาไทย มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, ปีที่. 10 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม-สิงหาคม 2560, 636-646.

สายฝน แสนใจพรม. (2564). การพัฒนาความสามารถด้านการวิจัยของครูที่ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์. วารสารวิจัยราชภัฏเชียงใหม่, ปีที่ 22 ฉบับที่ 1 มกราคม-เมษายน 2564, 133-148.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

28-12-2021