กลยุทธ์การบริหารการจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์ เพื่อพัฒนาสมรรถนะตามกรอบคุณวุฒิอาชีวศึกษาแห่งชาติ ของนักเรียน นักศึกษา วิทยาลัยการอาชีพหลังสวน

ผู้แต่ง

  • ประสิทธิ์ วัชรินทร์พร วิทยาลัยการอาชีพหลังสวน

คำสำคัญ:

การบริหาร, การจัดการเรียนการสอนออนไลน์, คุณวุฒิอาชีวศึกษาแห่งชาติ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบของกลยุทธ์ 2) สร้างกลยุทธ์ 3) ตรวจสอบกลยุทธ์ และ 4) ใช้กลยุทธ์และศึกษาผลสัมฤทธิ์ของกลยุทธ์การบริหารการจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์ เพื่อพัฒนาสมรรถนะตามกรอบคุณวุฒิอาชีวศึกษาแห่งชาติ ของนักเรียน นักศึกษา วิทยาลัยการอาชีพหลังสวน ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย คณะกรรมการบริหารสถานศึกษาวิทยาลัยการอาชีพหลังสวน ผู้เชี่ยวชาญด้านบริหารสถานศึกษาอาชีวศึกษาและการจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์ และผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหารจัดการอาชีวศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสนทนากลุ่ม สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ข้อมูลความตรงเชิงเนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า 1) กลยุทธ์การบริหารการจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์ของวิทยาลัยการอาชีพหลังสวน ประกอบด้วยกระบวนการต่าง ๆ ที่มีความสัมพันธ์และเชื่อมโยงกันตั้งแต่องค์ประกอบแรกจนถึงองค์ประกอบสุดท้าย ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบหลัก 39 องค์ประกอบรอง 2) คณะกรรมการบริหารสถานศึกษามีความคิดเห็นว่าองค์ประกอบของกลยุทธ์ มีความสอดคล้อง ความเหมาะสม และความเป็นไปได้ โดยค่าดัชนีความสอดคล้อง เท่ากับ 0.94 และผู้เชี่ยวชาญในการบริหารสถานศึกษาและผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์ มีความคิดเห็นว่า มีความสอดคล้อง ความเหมาะสม และความเป็นไปได้ โดยค่าดัชนีความสอดคล้อง เท่ากับ 0.93 3) ผู้อำนวยการ รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ และครูผู้สอนในรายวิชาที่จัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์ ในสถานศึกษาอาชีวศึกษาภาคใต้ มีความเชื่อมั่นต่อกลยุทธ์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหารจัดการอาชีวศึกษา รับรองกลยุทธ์การบริหาร มีความสอดคล้อง ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ โดยค่าดัชนีเท่ากับ 0.98 และ 4) การดำเนินงานตามคู่มือการใช้กลยุทธ์การบริหารการจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์ เพื่อพัฒนาสมรรถนะตามกรอบคุณวุฒิอาชีวศึกษาแห่งชาติ ของนักเรียน นักศึกษา วิทยาลัยการอาชีพหลังสวน ในปีการศึกษา 2563 มีสาระสำคัญ 7 สาระสำคัญ และผลสัมฤทธิ์ของนักเรียน นักศึกษา วิทยาลัยการอาชีพหลังสวน จากการรายงานการประเมินตนเอง (SAR) ของวิทยาลัยการอาชีพหลังสวน ปีการศึกษา 2563 ที่สอดคล้องกับสมรรถนะตามกรอบคุณวุฒิอาชีวศึกษาแห่งชาติ คือ มาตรฐานที่ 1 คุณลักษณะของผู้สำเร็จการศึกษาอาชีวศึกษาที่พึงประสงค์ มีผลการพัฒนาคุณภาพการศึกษาภาพรวม ร้อยละ 97.24

References

บีบีซีไทย. (2562). [ออนไลน์]. ไวรัสโคโรนา : ที่มา อาการ การรักษา และการป้องกันโรคโควิด-19. [สืบค้นเมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2562].จาก https://www.bbc.com/thai/features-51734255?ocid=wsthai.chat-apps.in-app-msg.line.trial.link_.auin%3F&fbclid=IwAR1HLoNhCxdhC6dAVHy8N5H7YczQyijijpgbhE7xbC9h5c7wGIqWmY1sD2w.

ศิรศักย เทพจิต. (2563). [ออนไลน์]. COVID-19 Pandemic : การตอบสนองเชิงนโยบายสาธารณะในการรับมือกับปัญหาพยศ. [สืบค้นเมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2562]. จาก http://www.setthasarn.econ.tu.ac.th/blog/detail/59

กรมควบคุมโรค. (2563). [ออนไลน์]. โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19). [สืบค้นเมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2562]. จาก https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/index.php.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2562). ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง นโยบายและจุดเน้นของกระทรวงศึกษาธิการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงศึกษาธิการ.

สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2562). ประกาศสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เรื่องรูปแบบการจัดการเรียนสอนในสภาวะการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19). กรุงเทพมหานคร: สำนักมาตรฐานการอาชีวศึกษาและวิชาชีพ.

สมพร ปานดำ. (2563). กลยุทธ์การพัฒนาทักษะภาษาต่างประเทศ สำหรับผู้เรียนอาชีวศึกษา ประเภทวิชาอุตสาหกรรม สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. พัฒนวารสาร, ปีที่ 7 ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน 2563, 207-217.

สุวัฒน์ บรรลือ. (2560). รูปแบบการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ที่เหมาะสมสำหรับมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด, ปีที่ 11 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม-ธันวาคม 2560, 250-260.

ณัฐชญาน์ รัตนสถาพรพงศ์. (2558). การพัฒนากลยุทธ์การยกระดับคุณภาพการเขียนรู้ภาษาอังกฤษของนักเรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1 และ เขต 2. วารสารวิชาการเครือข่ายบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ, ปีที่ 5 ฉบับที่ 9 (ฉบับพิเศษ) กรกฎาคม 2558, 85-102.

ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง กรอบคุณวุฒิอาชีวศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2562. (2562, 6 มีนาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 136 ตอนพิเศษ 56 ง. 9-11.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

28-12-2021