การบริหารจัดการอาชีวศึกษาตามมาตรฐาน KOSEN วิทยาลัยอาชีวศึกษาเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ (ชลบุรี)

ผู้แต่ง

  • พีรพงษ์ พันธ์โสดา วิทยาลัยอาชีวศึกษาเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ (ชลบุรี)

คำสำคัญ:

การบริหารจัดการ, หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงต่อเนื่อง 5 ปีตามมาตรฐาน KOSEN, วิทยาลัยอาชีวศึกษาเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ (ชลบุรี)

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาเอกสาร หลักการ ทฤษฎี วิเคราะห์สภาพแวดล้อม สภาพปัญหาและแนวทางการจัดการอาชีวศึกษาตามมาตรฐาน KOSEN 2) พัฒนาการบริหารจัดการอาชีวศึกษาตามมาตรฐาน KOSEN 3) นำการบริหารจัดการอาชีวศึกษาตามมาตรฐาน KOSEN สู่การปฏิบัติจริง และ 4) ประเมินผลการนำการบริหารจัดการอาชีวศึกษาตามมาตรฐาน KOSEN เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม แบบบันทึกผลการดำเนินการ ประชากรในการวิจัยประกอบด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิ ครูผู้สอน อาจารย์มหาวิทยาลัย ผู้เรียนตามหลักสูตร และภาคีเครือข่าย เก็บข้อมูลโดยการวิเคราะห์เอกสาร การระดมความคิดเห็น การสัมภาษณ์ และการตอบแบบสอบถาม การวิจัยดำเนินการในปีการศึกษา 2562-2563 ณ วิทยาลัยอาชีวศึกษาเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ (ชลบุรี) สถิติที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัย พบว่า การบริหารจัดการที่พัฒนาขึ้นมี 3 องค์ประกอบ คือ 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ และ 3) การบริหารจัดการ ซึ่งประกอบด้วย 3 ปัจจัย คือ 3.1) ปัจจัยนำเข้าการบริหารจัดการตามมาตรฐาน KOSEN 3.2) ปัจจัยด้านกระบวนการบริหารจัดการอาชีวศึกษาตามมาตรฐาน KOSEN และ 3.3) ปัจจัยด้านผลผลิตการบริหารจัดการอาชีวศึกษาตามมาตรฐาน KOSEN เมื่อนำการบริหารจัดการไปใช้ ส่งผลให้ผู้เรียนมีสมรรถนะสูงขึ้น ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีความพึงพอใจ

References

สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ. (2564). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพมหานคร: สำนักงาน.

สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2559). แผนพัฒนาการอาชีวศึกษา พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพมหานคร: สำนักงาน.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564). กระทรวงศึกษาธิการ: กรุงเทพมหานคร.

Yuji Ishihara. (2018). KOSEN Management. Japan: NIT Nagano College.

สำนักมาตรฐานการอาชีวศึกษา. (2561). การบริหารจัดการหลักสูตร KOSEN. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา.

วุฒิชัย กปิลกาญจน์. (22 พฤศจิกายน 2561). เร่งรัดพัฒนาและแก้ไขปัญหาคือทางรอดของการอาชีวศึกษา. มติชนออนไลน์. หน้า 3.

รัชนีกร มัคคสมัน. (2560). การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการทวิศึกษาเพื่อสร้างเสริมทักษะวิชาชีพผู้เรียนของวิทยาลัยเทคนิคกาญจนาภิเษกมหานคร สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. กรุงเทพมหานคร: วิทยาลัยเทคนิคกาญจนาภิเษกมหานคร.

กนกรัตน์ คงไทย. (2555). การพัฒนารูปแบบการใช้หลักสูตร สำหรับสถานศึกษาขั้นพื้นฐานระดับมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 41. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์, นครสวรรค์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

28-12-2021