การพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการประกอบอาชีพ สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา

ผู้แต่ง

  • ปฎาชมัย ทองชุมนุม สาขาวิชาพัฒนศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

คำสำคัญ:

รูปแบบการจัดการศึกษา, สมรรถนะการประกอบอาชีพ, โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินความต้องการจำเป็นในการเสริมสร้างสมรรถนะการประกอบอาชีพสำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา 2) ศึกษาวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) ในการจัดการศึกษาเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการประกอบอาชีพสำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา และ 3) พัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการประกอบอาชีพสำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา โดยใช้การวิจัยแบบผสมผสานวิธี (Mixed Methods Research) ซึ่งประกอบด้วยการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research)

ผลการวิจัยพบว่า 1) การประเมินความต้องการจำเป็นในการเสริมสร้างสมรรถนะการประกอบอาชีพสำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา นักเรียนมีความต้องการที่จะได้รับการพัฒนาด้านทักษะการวางแผนการประกอบมากที่สุดเป็นอันดับที่หนึ่ง ความต้องการที่จะได้รับการพัฒนาในด้านความรู้ด้านการวางแผนในการประกอบอาชีพ และมีความต้องการที่จะได้รับการพัฒนาด้านความรู้ในการปรับปรุงและพัฒนาการประกอบอาชีพ 2) การวิเคราะห์เนื้อหาเพื่อศึกษาวิธีการปฏิบัติที่เป็นเลิศในการจัดการศึกษาเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการประกอบอาชีพสำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกจากโรงเรียนกรณีศึกษา 2 โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนบ้านเมืองกื้ดและโรงเรียนบ้านจันทร์ ประกอบด้วยองค์ประกอบ 3 ด้าน ได้แก่ (1) กระบวนการจัดการศึกษาเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการประกอบอาชีพสำหรับนักเรียน (2) วิธีการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการประกอบอาชีพสำหรับนักเรียน และ (3) ผลการจัดการศึกษาเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการประกอบอาชีพสำหรับนักเรียน และ 3) รูปแบบการจัดการศึกษาเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการประกอบอาชีพสำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา มีองค์ประกอบ 4 ประการ ได้แก่ (1) วิสัยทัศน์และนโยบายของโรงเรียน (2) การเตรียมความพร้อมและบริหารจัดการ (3) การดำเนินงานจัดการเรียนรู้ และ (4) การประเมินผลลัพธ์โครงการซึ่งเป็นรูปแบบที่ผ่านการประเมินโดยผู้ทรงคุณวุฒิ โดยผลการประเมินอยู่ในระดับดีมากทุกด้าน

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). [ออนไลน์]. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560 -2564. [สืบค้นเมื่อวันที่ 15 เมษายน 2564]. จาก https://www.nesdc.go.th/ewt_dl_link.php?nid=6422.

มาเรียม นิลพันธุ์ ไชยยศ ไพวิทยศิริธรรม ศิริวรรณ วณิชวัฒนวรชัย และอุบลวรรณ ส่งเสริม. (2558). การประเมินผลการใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ในโรงเรียนต้นแบบการใช้หลักสูตร. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, ปีที่ 7 ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน 2558, 26-41.

สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์. (2560). [ออนไลน์]. ข้อมูลสารสนเทศด้านการศึกษาจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ปีการศึกษา 2560. [สืบค้นเมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2561]. จาก http://www.esbuy.net/_files_school/00001078/document/00001078_0_20180910-101504.pdf.

ประเวศ วะสี. (2554). ระบบการศึกษาที่แก้ความทุกข์ยากของคนทั้งแผ่นดิน. นครปฐม: ศูนย์จิตตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล.

พระมหาสมบูรณ์ สุธมฺโม (ทองแก้ว). (2557). บทบาทของผู้บริหารในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ฯ, ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 พฤษภาคม-สิงหาคม 2557, 89-102.

ธารทิพย์ พจน์สุภาพ. (2559). การจัดการเรียนการสอนแบบการปฏิบัติงานกลุ่มหรือแบบทีม. วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต, ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน 2559, 36-46.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

28-12-2021